Mini Howto Subject: การแบ่งและการ format partition Harddisk By : Dome Potikanond dome@ds90.intanon.nectec.or.th> and Pruet Boonma pruet@ds90.intanon.nectec.or.th> Date : Apr 4,1998 Update from : Apr 3,1998 License: สงวนลิขสิทธิ์เอกสารนี้ โดย โดม โพธิการนนท์ การเผยแพร่เอกสารนี้จะต้องอยู่ภายไต้ เงื่อนไขของ GNU General Public License เวอร์ชั่น 2.0 ที่ออกโดย Free Sofware Foundation กรุฒาอ่านรายละเอียดของ GPL ที่ Introduction : ในกรณีที่ต้องการ พื้นที่สำหรับเก็บข้อมูลใหม่นั้น ถ้ามีพื้นที่เหลือใน Harddisk ลูกเดิม ก็สามารถจะ fdisl/format เพื่มได้ทันที แต่ถ้าไม่มีพื้นที่เหลือ ก็ต้องนำ Harddisk ลูกใหม่ มาต่อเพิ่มและทำการ fdisk/format ใหม่ สำหรับการ fdisk นั้น จะเป็นการกำหนดขนาดพื้นที่และชนิดของ harddisk partition ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และการ format นั้น จะเป็นการเตรียมพื้นที่สำหรับการเก็บข้อมูล ซึ่ง harddisk partition ที่ยังไม่ได้ format นั้นจะยังใช้ในการเก็บข้อมูลไม่ได้ Prerequire : พื้นที่ที่เหลือใน harddisk โดยอาจจะอยู่ใน harddisk ลูกเดิม หรือว่า harddisk ที่นำมาต่อใหม่ก็ได้ โดยชื่อ device ของ harddisk นั้นจะเรียงตามลำดับดังนี้ คือ Primary Master (harddisk ที่ต่อกับสายแพร์เส้นแรก และ set เป็น master) จะเป็น /dev/hda Primary Slave (harddisk ที่ต่อกับสายแพร์เส้นแรก และ set เป็น slave) จะเป็น /dev/hdb Secondary Master (harddisk ที่ต่อกับสายแพร์เส้นที่สอง และ set เป็น master) จะเป็น /dev/hdc Secondary Slave (harddisk ที่ต่อกับสายแพร์เส้นที่สอง และ set เป็น slave) จะเป็น /dev/hdd การ fdisk : การ fdisk จะอาศัยโปรแกรมชื่อว่า fdisk ซึ่งจะใช้ command line ในการทำงาน และมีคำสั่งที่ใช้บ่อยดังนี้คือ d ลบ partition ที่มีอยู่เดิม l แสดงรายชื่อ partition ที่ fdisk รู้จัก m แสดง หน้าจอช่วยเหลือ( help ) n เพิ่ม partition ใหม่ p แสดง partition ที่มีอยู่ q ออกจาก fdisk โดยยกเลิกการแก้ไข t เปลี่ยนชนิดของ partition w แก้ไข partition table และออกจาก fdisk ซึ่งจะแสดงการทำงานต่าง ๆ ดังนี้คือ 1. การเพิ่ม partition ใหม่ ทำได้โดยใช้คำสั่ง n ดังตัวอย่าง # fdisk Using /dev/hda as default device! Command (m for help): n Command action e extended p primary partition (1-4) p Partition number (1-4): 1 First cylinder (535-621): 535 Last cylinder or +size or +sizeM or +sizeK ([535]-621): 621 Command (m for help): จากตัวอย่างเป็นการสร้าง partition ใหม่ โดยเป็น primary partition ซึ่งใน Linux นั้นจะมี partition อยู่สองแบบ(สำหรับ file system แบบ EXT2) คือ primary และ extended โดยแบบ primary จะทำงานได้เร็วกว่า แต่ว่ามีได้แค่ 4 partition ดังนั้น ถ้าต้องการมากกว่า 4 partition ก็ต้องใช้แบบ extended ร่วมด้วย เมื่อเลือกชนิด partition และ หมายเลขของ partition แล้วก็ต้องกำหนดขนาดของ partition โดยมี cylinder เริ่มต้นที่ 535 โดย fdisk จะหาพื้นที่ว่างให้เอง และเมื่อกำหนด cylinder เริ่มต้นแล้ว ก็ต้องทำการกำหนด cylinder สุดท้าย หรือว่าอาจจะกำหนดขนาดก็ได้ โดยที่จะมีเครื่องหมาย + นำหน้า ถ้าเป็นการกำหนดขนาด และถ้าเป็นการกำหนดขนาดเป็น kbytes ก็จะใช้ K ตามหลัง หรือว่าถ้าเป็น Mbyte ก็จะใช้ M ตามหลังเป็นต้น หลังจากที่ทำการเพิ่ม partition แล้ว fdisk จะ set partition type ให้เป็น Linux Native ดังนั้น ถ้าต้องการเปลี่ยนเป็น partition แบบอื่น เช่น DOS fat หรือว่า Linux swap ก็ต้องใช้คำสั่ง t ในการแก้ใขดังนี้ # fdisk Using /dev/hda as default device! Command (m for help): t Partition number (1-7): 1 Hex code (type L to list codes): 82 Command (m for help): เป็นการแก้ใข partition type ของ partition แบบ Linux Native ไปเป็นแบบ Linux Swap ซึ่งสามารถขอดูหมายเลขชนิดของ partition ได้โดยการกด L หรือว่าใช้คำสั่ง l เพื่อแสดงก็ได้ 2. การลบ partition ที่มีอยู่ ทำได้โดยคำสั่ง d # fdisk Using /dev/hda as default device! Command (m for help): d Partition number (1-7): 1 Command (m for help): ซึ่ง fdisk จะถามว่าจะลบ partition ที่เท่าไหร่ ซึ่งจะยังไม่ใช่การลบจริง ๆ กล่าวคือถ้ามีการกด q เพื่อออก ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ แต่ถ้ามีการกด w เพื่อออก ก็จะมีการแก้ใข partition table นั้น 3. การแสดง partition ที่มีอยู่ ทำได้โดยคำสั่ง p #fdisk Using /dev/hda as default device! Command (m for help): p Disk /dev/hda: 128 heads, 63 sectors, 621 cylinders Units = cylinders of 8064 * 512 bytes Device Boot Begin Start End Blocks Id System /dev/hda1 1 1 26 104800+ 82 Linux swap /dev/hda2 27 27 153 512064 83 Linux native /dev/hda3 154 154 280 512064 83 Linux native /dev/hda4 281 281 621 1374912 5 Extended /dev/hda5 281 281 407 512032+ 83 Linux native /dev/hda6 408 408 534 512032+ 83 Linux native /dev/hda7 535 535 621 350752+ 83 Linux native Command (m for help): โดยจะแสดงรายละเอียดของ partition table ต่าง ๆ เรียงตามลำดับ ที่สำคัญคือขนาด จะอยู่ในแถวของ Blocks หน่วยเป็น kbyte และ partition type อยู่ใน Id และ System ข้อสังเกตุคือ ปกติ fdisk จะแก้ใข harddisk หลัก ( harddisk ที่ใช้ boot ) เท่านั้น ในกรณี ที่ต้องการแก้ไข harddisk อื่น ๆ ก็สามารถทำได้โดยการกำหนด harddisk device name ลงไปนั่นเอง เช่น # fdisk /dev/hdb เป็นต้น การ format partition : การ format partition จะใช้คำสั่ง mkfs (make file system) โดยจะต้องกำหนดชนิดของ partition ที่ต้องการ format ด้วย เช่น # mkfs -t ext2 /dev/hdb1 เป็นการ format parition แรก ของ harddisk ที่เป็น primary slave โดย format ให้มี file system เป็นบบ EXT2 นั่นเอง ข้อสังเกตุ คือ จะ format ได้เฉพาะ harddisk partition ที่ผ่านการ fdisk มาแล้วเท่านั้น และ partition type ก็ต้อง match กับ file system type ที่ต้องการ format ด้วย