โครงการแปลบทความ
The Cathedral and the Bazaar

โอเพนซอร์ส เป็นกระแสที่มาแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในวงการซอฟต์แวร์ ทั้ง ๆ ที่เป็นสิ่งที่อาจขัดกับสามัญสำนึกของโลกธุรกิจ ทุกคนที่ได้ยินแนวคิดครั้งแรกต่างงุนงงสงสัย ถึงความเป็นไปได้ในทางเศรษฐศาสตร์ของการเขียนโปรแกรมแบบเปิดทุกสิ่งทุกอย่าง โดยเฉพาะซอร์สโค้ดซึ่งเป็นสิ่งหวงห้ามที่สุดของซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ และคิดว่าไม่มีทางที่นักพัฒนาจะอยู่รอดได้ด้วยการเขียนโปรแกรมแจกฟรี

แต่สิ่งที่ปรากฏทำให้ต้องเชื่อ เมื่อลินุกซ์ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดได้โตวันโตคืน บริษัทไอทีใหญ่ ๆ หันมาสนับสนุนโอเพนซอร์ส ไม่ว่าจะเป็น เน็ตสเคป ไอบีเอ็ม ซัน โนเวลล์ ฯลฯ หรือกระทั่งตั้งบริษัทเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สโดยเฉพาะอย่างเรดแฮต แมนดริวา โทรลล์เทค ฯลฯ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จในวงกว้างเริ่มมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งเว็บเบราว์เซอร์อย่างไฟร์ฟ็อกซ์ หรือชุดออฟฟิศอย่างโอเพนออฟฟิศ ตัวอย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นประจักษ์พยานได้เป็นอย่างดี ว่าแนวคิดโอเพนซอร์สไม่ใช่แค่เป็นไปได้ แต่กำลังกลายเป็นแนวโน้มใหม่ของโลกใบนี้ด้วยซ้ำ

บทความชุด The Cathedral and the Bazaar ของ Eric S. Raymod (ESR) เป็นจุดกำเนิดของปรัชญาโอเพนซอร์ส ที่ได้อธิบายแนวคิดเบื้องหลังทั้งหมดของปรากฏการณ์ดังกล่าว ที่ผู้สนใจศึกษาแนวคิดของโอเพนซอร์สไม่ควรพลาด

โครงการแปลเอกสารชุด The Cathedral and the Bazaar (CatB) นี้ เป็นความพยายามที่จะถ่ายทอดแนวคิดต้นกำเนิดของปรัชญาโอเพนซอร์สออกเป็นภาษาไทย เพื่อความสะดวกต่อการศึกษาสำหรับผู้ที่สนใจ โดยลำดับเนื้อหาเป็นตอน ๆ (ตอนที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทย คือตอนที่ยังไม่แปล หรือยังแปลไม่เสร็จ) คือ:

  1. Introduction
  2. A Brief History of Hackerdom
  3. มหาวิหารกับตลาดสด (The Cathedral and the Bazaar)
  4. ลงหลักปัญญาภูมิ (Homesteading the Noosphere)
  5. The Magic Cauldron
  6. The Revenge of the Hackers
  7. คำตาม

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการร่วมถ่ายทอดแนวคิดนี้สู่คนไทย คุณสามารถร่วมแปลได้ โดย ดาวน์โหลดแฟ้ม PO มาแปล แล้วส่งคำแปลเข้าที่กลุ่มเมล thai-l10n ณ googlegroups ด็อต com

ขอขอบคุณนักแปลทุกท่านที่ได้ร่วมกันสละเวลาแปลเอกสารชุดนี้