จุดประสงค์เกี่ยวกับการสร้าง เอกสารลีนุกซ์ภาษาไทย (Thai Linux Document)

ลีนุกซ์เป็นโอเอสที่ถือว่าเป็นของใหม่ ไม่เพียงแต่ในประเทศไทย แต่ยังถือเป็นของใหม่แม้แต่ในหมู่นักคอมพิวเตอร์ของในอเมริกาและในยุโรปด้วย ดังนั้นเอกสาร (รวมทั้งหนังสือ) ที่จะช่วยอธิบายให้กับผู้ใช้มือใหม่ รวมทั้งผู้ใช้ที่เชี่ยวชาญแล้ว ให้เข้าใจในเรื่องของระบบลีนุกซ์ รวมทั้งวิธีการใช้งานนั้น จึงถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง

ในอเมริกา มีเวปไซต์ที่ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับเรื่องเอกสารอิเลกโทรนิกซ์ ของลีนุกซ์อยู่ซึ่งก็คือ The Linux Documentation Project เวปไซต์แห่งนี้ได้ทำการรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวกับลีนุกซ์ที่มีประโยชน์มากมายมาไว้ที่นี่ ที่สำคัญเช่น เอกสารคู่มือคำแนะนำจำนวนมากกว่า 5 ฉบับด้วยกัน ตัวอย่างเช่น Linux User Guide (คู่มือคำแนะนำของผู้ใช้งานลีนุกซ์), Linux Network Administrator Guide (คู่มือคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องการติดตั้งเครือข่ายบนลีนุกซ์), Linux Kernel Hacker Guide (คู่มือคำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องการแกะเคอร์นัลของลีนุกซ์) เป็นต้น

เอกสารเหล่านี้ มีลักษณะคล้ายกับ Text Book ที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป เพียงแต่ว่ามีรูปแบบของการนำเสนอเป็นแบบ เวปเพจ และนอกจากจะนำเสนอในรูปแบบของเวปเพจแล้ว ยังมีการแจกจ่ายให้ในรูปแบบอื่นด้วย เช่น PostScript, TeX format เป็นต้น นับได้ว่าจะช่วยให้ผู้ใช้งานลีนุกซ์สามารถ จัดพิมพ์เอกสารเหล่านี้ นำมาใช้อ้างอิงได้โดยง่ายที่สุด

นอกจากเอกสารคู่มือคำแนะนำเหล่านี้แล้ว ยังมีเอกสารที่เกี่ยวกับเรื่องของ "...จะทำได้อย่างไร" หรือ HOWTO และ mini HOWTO อีกเป็นจำนวนมาก เอกสารเหล่านี้ถึงแม้ว่าจะไม่สมบูรณ์เท่ากับคู่มือคำแนะนำข้างต้น แต่ก็ถือว่า มีข้อเขียนที่อธิบายได้ละเอียดชัดเจน และมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าคู่มือคำแนะนำข้างต้น และที่สำคัญคือเป็นเรื่องที่มีคนเชี่ยวชาญไม่มาก และไม่มีไว้ในคู่มือคำแนะนำดังกล่าว

ทีมงานของเรา เล็งเห็นความสำคัญของเอกสารลีนุกซ์ดังกล่าว จึงได้เริ่มโครงการ "เอกสารลีนุกซ์ภาษาไทย" (Thai Linux Document) ขึ้น โดยได้ตระหนักว่ายังมีผู้ใช้ลีนุกซ์ / ยูนิกซ์, ผู้ใช้มือใหม่ และผู้ที่สนใจในเรื่องของลีนุกซ์ / ยูนิกซ์ อีกเป็นจำนวนมาก ที่มีความต้องการจะอ่านเอกสารที่เป็นภาษาไทย เราจึงได้ตัดสินใจเขียนบทความบางส่วน ที่เราคิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจดังกล่าว โดยแนวทางการเขียนเอกสารของเรานั้น เราจะกำหนดหัวข้อที่ต้องการเขียนขึ้นมาก่อน จากนั้นจะอธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีพื้นฐานอย่างง่าย ต่อไปจึงเป็นเรื่องของวิธีการใช้งานหรือการติดตั้ง แล้วจึงจะเป็นการเสริมและเพิ่มประสบการณ์บางส่วนที่เราได้เคยประสบมาแล้วลงไปด้วย

เราหวังว่าด้วยแนวทางนี้ จะช่วยให้ผู้ใช้มือใหม่ และผู้ที่สนใจลีนุกซ์ จะได้วิธีการและแนวทางการใช้งานขั้นพื้นฐานติดตัวไป อันจะทำให้เขาเหล่านั้นสามารถทำการศึกษาในขั้นสูงต่อไปด้วยตนเองได้ง่ายแน่นอนว่าเอกสารเหล่านี้เราไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ทั้งหมดโดยลำพังทีมงานของเราเองเราหวังว่าสักวันหนึ่ง เขาเหล่านั้นจะสามารถเขียนบทความในแนวทางที่ตนเองสนใจได้ และส่งบทความเหล่านั้นมาช่วยในการให้ความรู้กับผู้ใช้มือใหม่อื่นๆ หรือผู้ใช้ที่ยังไม่มีความรู้ในความรู้ใหม่ๆเหล่านั้นได้ อันจะเป็นการช่วยเพิ่มและขยายวงกว้างของความรู้เกี่ยวกับเรื่องของลีนุกซ์ / ยูนิกซ์และรวมทั้งเรื่องของคอมพิวเตอร์อื่นๆด้วย

เรามิได้ถือว่าหน้าที่ของเราสิ้นสุดลงเมื่อได้มีการเผยแพร่เอกสารลีนุกซ์ภาษาไทย แต่ละฉบับแล้ว เราตระหนักดีว่ายังมีความผิดพลาดเกิดขึ้นอยู่ในเอกสารแต่ละฉบับนั้น และยังมีความรู้ใหม่ที่ถูกค้นพบตลอดเวลา ดังนั้นเอกสารลีนุกซ์ภาษาไทยแต่ละฉบับจึงจะมีการแก้ไขปรับปรุงอยู่เสมอ ขอให้คุณที่เคยอ่านไปแล้ว ตรวจสอบเอกสารลีนุกซ์ภาษาไทยอยู่เสมอ

ในตอนนี้บทความและเอกสารทั้งหมด จะอยู่ในรูปของ HTML format เนื่องจากจะทำให้ง่ายต่อการอ่านเอกสารโดยแพลตฟอร์มต่างๆ โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นจะต้องสามารถถอดรหัสภาษาไทยได้ด้วย เราจะเขียนเอกสารดังกล่าวให้ง่ายที่สุด ใช้ tag ในปริมาณจำกัด และรูปภาพเท่าที่จำเป็น เพื่อความเร็วและง่ายในการดาวน์โหลดเอกสาร

จากสถานการณ์ในปัจจุบัน ถือว่ามีความต้องการของเอกสารลีนุกซ์ภาษาไทยในปริมาณค่อนข้างสูงและจากอีเมลล์ที่หลายๆท่านส่งเข้ามา สนับสนุนให้เราดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องเอกสารลีนุกซ์ภาษาไทยต่อไป

ลิขสิทธิ์

เอกสารลีนุกซ์ภาษาไทย สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย โดยผู้แต่งเอกสารแต่ละฉบับ

เอกสารลีนุกซ์ภาษาไทย สามารถนำเอาไปผลิตซ้ำใหม่ แจกจ่าย ได้โดยการทำในรูปแบบของอิเลกโทรนิกซ์หรือเป็นรูปเล่มหนังสือ ตราบเท่าที่ระบุลิขสิทธิ์ที่ได้แจ้งไว้นี้ เอาไว้ด้วย

การนำเอาเอกสารลีนุกซ์ภาษาไทยไปผลิตในรูปแบบทางการค้า สามารถทำได้แต่ควรจะทำการติดต่อขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์เสียก่อน

เอกสารลีนุกซ์ภาษาไทยทุกฉบับ และเอกสารที่นำไปผลิตซ้ำใหม่จะอยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ตามที่ได้แจ้งไว้นี้นั่นหมายความว่า ไม่สามารถนำเอาเอกสารลีนุกซ์ภาษาไทยฉบับใดฉบับหนึ่ง หรือทั้งหมด ไปผลิตใหม่โดยมีการจำกัดสิทธิ์ ที่นอกเหนือจากที่ได้กำหนดไว้ในลิขสิทธิ์ที่ได้แจ้งไว้นี้ ยกเว้นว่าจะได้รับการอนุญาตภายใต้เงื่อนไข จากเจ้าของลิขสิทธิ์ กรุณาติดต่อทีมงานดูแลเรื่องของ เอกสารลีนุกซ์ภาษาไทยตามที่อยู่ที่ได้แจ้งไว้ข้างล่าง

หากคุณมีข้อสงสัยขอให้ติดต่อทีมงานดูแลเรื่องของ เอกสารลีนุกซ์ภาษาไทย kaiwal@geocities.com
โดยติดต่อผ่านอีเมลล์

Copyright

Thai Linux Document are copyrighted by their respective authors.

Thai Linux Document may be reproduced and distributed in whole or in part in any medium physical or electornic, as long as this copyright notice is retained on all copies.

Commercial redistribution is allowed and encouraged; however, the author would like to be notified of any such distributions.

All derivative works or aggregate works incorporating any Thai Linux Document must be covered under this copyright notice. That is, you may not produce a derivative work from Linux Thai Document and impose additional restrictions on its distribution. Exceptions to these rules may be granted under certain conditions; please contact the Thai Linux Document coordinator at the address given below.

If you have questions, please contact Thai Linux Document coordinator kaiwal@geocities.com via email.


HTML developed by Kaiwal Development Team (kaiwal@geocities.com)