การติดตั้งลีนุกซ์


การติดตั้ง Slackware distribution

แปลบางส่วนมาจาก Linux Developper's Resource CD-ROM August 1995 by Infomagic
(Slackware 2.3 with kernel 1.2.8 and ELF beta)
คำเตือน:
  1. กรุณาตรวจสอบฮาร์ดแวร์ของคุณก่อนว่าเข้ากันได้กับลีนุกซ์หรือไม่ (ตรวจสอบจาก Listing Linux H/W compatability)
  2. ก่อนจะทำการติดตั้งลีนุกซ์ คุณควรจะทำการสำรองข้อมูลเดิม ในฮาร์ดดิสก์ของคุณเสียก่อน

เริ่มทำแผ่นบูตระบบสำหรับลีนุกซ์

เนื่องจากลีนุกซ์ มีระบบไฟล์และการจัดการระบบที่เป็นของตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งอินเทอร์รัปต์ของดอส ดังนั้นจึงต้องมีการทำแผ่นบูตระบบเสียก่อน ซึ่งจะประกอบด้วย 2 แผ่นคือ boot disk และ root disk
  1. การทำแผ่นบูตของลีนุกซ์โดยใช้ WINDOWS
  2. ต่อไปนี้จะสมมุติว่า ฮาร์ดดิสก์ของคุณเป็นไดรฟ์ C: และซีดีรอมไดรฟ์ ของคุณเป็นไดรฟ์ D:
    1. เลือก "run" จากไฟล์เมนูใน program manager โดยใช้วิธี browse เอา หรือใส่ข้อความว่า D:\lininst\lininst.exe
      โปรแกรมที่สร้างแผ่นบูตดิสก์ของลีนุกซ์จะเริ่มทำงาน
    2. เลือกประเภทของฮารด์ดิสก์ที่ท่านจะทำการติดตั้งระบบลงไป สามารถเลือกได้ทั้งแบบ SCSI หรือ IDE
    3. ให้เลือก source ที่โปรแกรมติดตั้งจะไปอ่านมา
      • เลือก YES ในหัวข้อ Networking ถ้าคุณจะติดตั้งผ่าน NFS
      • ถ้าจะติดตั้งผ่าน CD-ROM ให้เลือกจาก CD-ROM listing
        • SONY CDU-31A/33A
        • Mitsumi (Proprietary Interface)
        • SONY CDU-531/535
        • Sound Blaster CD-ROM (Panasonic/Matsushita)
        • SCSI CD-ROM
        • NEC 260 (Older non-ATAPI model)
        • ATAPI (compatible)
    4. เลือกชนิดของการ install
      • Color Install - สำหรับจอสี (ควรใช้ตัวเลือกนี้)
      • TTY Install - สำหรับจอโมโนโครม
      • UMSDOS Install - สำหรับ UMSDOS version
      • Tape Install - สำหรับ Install จาก Tape
    5. ถ้าคุณมีฟลอบปี้ไดรฟ์มากกว่า 1 ตัว ขอให้คุณเลือกตัวที่สามารถใช้บูตแผ่นได้ (ปกติเป็นไดรฟ์ A:) ถ้าคุณมีเพียงตัวเดียวมันจะถูกเลือกอยู่แล้ว
    6. หลังจากใส่ตัวเลือกทั้งหมดแล้วให้ใช้เมาส์คลิกที่ปุ่ม OK
    7. โปรแกรมจะให้ใส่แผ่นเปล่า เพื่อจะทำการสร้าง Boot disk และ Root disk (ใส่แผ่นตามลำดับ)

  3. ทำแผ่นบูตของลีนุกซ์โดยใช้ดอส (จะทำได้ยากกว่าใช้วินโดว์ส)
    1. ให้คุณหาอ่านรายละเอียดของบูตอิมเมจที่คุณจะใช้ทำแผ่นบูตของเครื่องคุณใน แผ่นซีดี ที่ไฟล์ชื่อ bootlist.txt โดยหาไดเรกทอรีของไฟล์นี้ได้จาก help ไดเรกทอรี ใน disc1
    2. ต้องหารายละเอียดของ root disk ด้วย โดยหาได้จากไฟล์ rootlist.txt
    3. เมื่อคุณตัดสินใจได้แล้วว่า จะเลือกใช้ Boot และ Root แบบใด คุณจะต้องไปคลี่ image ของแผ่นทั้งสอง (โดยใช้โปรแกรม rawrite.exe)
      ซึ่งจะหาไดเรกทอรีของไฟล์นี้ ได้จากไฟล์ที่ชื่อ whereami.txt ซึ่งจะหาได้จากไดเรก ทอรี help ใน disc1
    4. ให้สร้างไดเรกทอรีชั่วคราวขึ้นมาในไดรฟ์ C เช่น c:\temp ให้ทำการ copy ไฟล์ที่เป็นอิมเมจของ boot และ root ลงไปในไดเร็กทอรีนี้ รวมทั้ง rawrite.exe ด้วย
    5. เรียกโปรแกรม rawrite.exe โปรแกรมจะถามไดรฟ์ที่มีแผ่นเปล่าที่จะทำการสร้าง boot disk อยู่ ให้ตอบ 'A:' หากแผ่นเปล่านั้นอยู่ที่ฟลอปปีไดรฟ์ A:
    6. เมื่อสร้าง boot disk เสร็จแล้วให้ใส่แผ่นเปล่าแผ่นที่สองเข้าไปเพื่อจะสร้าง root disk จากนั้นก็พิมพ์ rawrite เพื่อเรียกโปรแกรมอีกครั้งหนึ่ง
    7. โปรแกรมจะถามชื่อของ root image (ตย. ให้ใส่ color144) และจะถามไดรฟ์
      ให้ตอบชื่อไดรฟ์ไป (เช่น A:) และโปรแกรมก็จะสร้าง root disk จนเสร็จ

เมื่อคุณได้ boot disk และ root disk แล้ว คุณก็สามารถเริ่มการติดตั้งระบบลีนุกซ์ลงบนฮาร์ดดิสก์ของคุณได้

ก่อนการติดตั้งขอแนะนำให้แบ่งพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ดังต่อไปนี้ (ตย. สำหรับฮาร์ดดิสก์ 540Mb)
  1. DOS/WINDOWS 200
  2. LINUX 300
  3. LINUX SWAP 40
คุณอาจจะแบ่งเฉพาะพาร์ติชั่นแรก (DOS/WINDOWS) ก่อนก็ได้ เราสามารถไปเพิ่มพาร์ติชั่นภายหลังได้ โดยใช้โปรแกรม fdisk บนลีนุกซ์
  1. ใส่แผ่น CD ที่จะ install ในซีดีรอมไดรฟ์ และใส่แผ่น Boot disk ในไดรฟ์ A: จากนั้นให้รีเซ็ตระบบโดยใช้ Clt-Alt-Del หรือกดปุ่มรีเซ็ต
  2. จากนั้นคุณจะเห็นคำว่า LILO ขึ้นที่จอภาพซึ่งแสดงว่าระบบกำลังบูตอยู่ จากนั้นก็จะมี boot: พร้อมพ์ที่ตอนล่างของจอซึ่งจะทำการรอรับพารามีเตอร์ที่จะใช้บูตกับฮาร์ดดิสก์ของคุณ โดยปกติจะกด Enter ผ่านไปได้เลย
  3. ระบบจะทำการขอให้เราใส่แผ่น root disk เข้าไป ให้เอาแผ่น root disk ใส่เข้าไปแทน ซึ่ง root disk นี้จะถูกโหลดเข้าไปไว้ใน ramdisk และลีนุกซ์ (ชั่วคราว) ก็จะรันระบบผ่านทาง ramdisk นี้
  4. เมื่อระบบทำการบูตเสร็จสมบูรณ์แล้ว ก็จะขึ้น login prompt ขึ้นมา ให้คุณพิมพ์คำว่า root เข้าไป คุณจะได้ ล็อกอิน เข้าไปในฐานะของ ซูเปอร์ยูเซอร์ ซึ่งสามารถทำการแก้ไขเปลี่ยน แปลงระบบได้ทั้งหมด
คุณสามารถทำการจัดพาร์ติชันใหม่ได้ โดยใช้คำสั่ง
fdisk <ชื่อไดรฟ์>
โดย drive จะมีชื่อดังต่อไปนี้
ด้งนั้นคุณสามารถแทนคำว่า drive ด้วยรายชื่อดังกล่าว ตัวอย่างเมื่อจะทำการ จัดพาร์ติชันของ IDE ฮาร์ดดิสก์ตัวที่หนึ่ง (ที่ระบบ ส่วนใหญ่ใช้)
fdisk /dev/hda
สำหรับการแบ่งพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์แต่ละตัวนั้น จะมีหมายเลขพาร์ติชันต่อท้าย ชื่อของฮาร์ดดิสก์ ตัวอย่างเช่น

ในตอนแรกคุณควรตรวจดูพาร์ติชันในฮาร์ดดิสก์ของคุณโดยใช้ คำสั่ง 'p' (สั่ง 'm' ถ้าต้องการให้แสดงข้อความช่วยเหลือ) ถ้าตอนแรกคุณแบ่งเป็น DOS/WINDOWS พาร์ติชันเดียว (ตามข้างบน) โปรแกรมควรจะส่งข้อความออกมาคล้ายๆอย่างนี้

Command (m for help):p
Disk /dev/hd: 16 heads, 38 sectors, 683 cylinders
Units=cylinders of 608*512 bytes
Device Boot Begin Start End Blocks ID System
/dev/hda1 * 1 1 203 61693 6 DOS 16-bit>=32M

Command (m for help):

ให้คุณทำการสร้าง พาร์ติชันสำหรับ ระบบและสแวป เพิ่ม
โดยใช้คำสั่ง 'n' ดังนี้

Command (m for help):n
Command action
e extended
p primary partition (1-4)
p <-- สั่ง p เพื่อเลือก primary

Partition number(1-4): 2 <-- partition ที่ 2
First cylinder(204-683): 204 <-- ใส่หมายเลข cylinder
Last cylinder or +size of +sizeM or +sizeK(204-683): +80M

จากนั้นก็สร้าง swap แบบเดียวกัน แต่เปลี่ยนหมายเลขพาร์ติชัน เป็น 3 เมื่อสั่ง 'p' ดูพาร์ติชั่น ควรได้ข้อความดังนี้

Command (m for help):p
Disk /dev/hd: 16 heads, 38 sectors, 683 cylinders
Units=cylinders of 608*512 bytes
Device Boot Begin Start End Blocks ID System
/dev/hda1 * 1 1 203 61693 6 DOS 16-bit>=32M
/dev/hda2 204 204 473 82080 83 Linux native
/dev/hda3 474 474 507 10336 83 Linux native

Command (m for help):

คุณสามารถจะเปลี่ยน type ของพาร์ติชั่น ที่สามให้เป็น swap ได้ โดยการสั่ง 't' ดังนี้

Command (m for help):t
Partition numer(1-4):3
Hex code (type L to List codes):82

พาร์ติชั่นที่สามจะถูกเปลี่ยน type เป็น swap สามารถสั่ง 'L' ถ้าต้องการดูรหัสของพาร์ติชันแบบอื่นๆ เมื่อทำการจัดพาร์ติชั่นเสร็จแล้ว ให้สั่ง 'w' เพื่อทำการ write ข้อมูลลงไปในฮาร์ดดิสก์ และออกโดยใช้ คำสั่ง 'q'

จากนั้นคุณก็สามารถสั่งให้ลีนุกซ์เตรียมเนื้อที่สำหรับ swap โดยใช้คำสั่ง
mkswap -c
จากตัวอย่างข้างบน สามารถสั่งได้ดังนี้
mkswap -c /dev/hda3 10336
จากนั้นก็ทำให้ระบบสามารถใช้เนื่อที่ swap ได้โดยใช้คำสั่ง
swapon
ตัวอย่าง  swapon /dev/hda3
คราวนี้คุณก็สามารถใช้พื้นที่มากกว่า 10 Mb เป็นพื้นที่สแวปของ เวอร์ชวลเมโมรีได้แล้ว คุณอาจจะไม่จำเป็นจะต้องใช้สแวปก็ได้ ถ้าคุณมั่นใจว่า เมโมรีของคุณ มากพอ และไม่ใช้ X-windows มาถึงตอนนี้คุณก็สามารถที่จะติดตั้งแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ที่จำเป็นลงในฮาร์ดดิสก์ ได้แล้ว



การเรียกโปรแกรมเซตอัพ

โปรแกรมเซตอัพของ slackware จะมีลักษณะการใช้งานแบบพูลดาวน์เมนู และจะต้องทำการ ใช้งานตามลำดับ
  1. ทำการลอกอินเข้าเป็นซูปเปอร์ยูเซอร์ (root) แล้วจะเห็น พร้อมพท์ '#' รอรับคำสั่งอยู่ พิมพ์คำว่า setup
  2. เพื่อความรวดเร็วในการติดตั้งระบบ คุณควรใช้การติดตั้งแบบ verbose แต่ถ้าคุณต้องการเห็นรายละเอียดของการติดตั้งแต่ละโปรแกรม คุณก็ ไม่ต้องเข้ามาเลือกหัวข้อนี้ก็ได้ แต่การติดตั้งจะช้ากว่า เพราะจะต้อง คอยตอบคำถามตัวเลือกต่างๆ
    การเลือกหัวข้อนี้โดยเลือกไปที่หัวข้อ Quick จากเมนู แล้วจึง เลือกหัวข้อ Verbose หรือ Quick จากเมนูย่อยนั้นอีกที
  3. ขั้นต่อมาให้เลือกแหล่งของข้อมูลที่จะใช้ติดตั้ง โดยเข้าไปเลือกที่หัวข้อ source
    ถ้าคุณไม่สามารถทำการติดตั้งจาก CD-ROM ได้ให้ทำการติดตั้งระบบจาก ฮาร์ดดิสก์โดยใช้วิธีดังต่อไปนี้
    ในขั้นแรกคุณจะต้องทำการ copy ข้อมูลจาก CD-ROM โดยใช้งานผ่านทาง DOS หรือ WINDOWS และจะต้องเตรียมเนื้อที่ว่างในฮาร์ดดิสก์เพื่อทำการเก็บ ข้อมูลอย่างน้อย 40 Mb ขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะต้องการใช้ ลีนุกซ์ในระดับไหน)
    ให้ทำการบูตเข้าระบบดอส และสร้างไดเรกทอรีสำหรับเก็บข้อมูล โดยใช้ คำสั่ง mkdir c:\slack ไดเรกทอรีข้อมูลที่คุณจะ copy จาก CD-ROM จะอยู่ที่ \distribu\slackwar\ โดยไดเรกทอรีจะมีรูปแบบการ เก็บข้อมูลออกเป็นแพกเก็จต่างๆดังต่อไปนี้

    สำหรับแพกเกจในชุด A นั้นเป็นชุดที่จำเป็นจะต้องติดตั้งในระบบ ที่เหลืออาจจะติดตั้งเพิ่มเติมหรือไม่ก็ได้ ถ้าหากมีเนื้อที่เพียงพอ ควรจะ ติดตั้งในชุด A, AP และ D ถ้าต้องการจะใช้งานระบบ X Windows ให้ติดตั้งชุด X ด้วย

    ในขั้นแรกเราจะทำการติดตั้งเฉพาะชุด A และ AP ให้ copy ไดเรกทอรี A1, A2, A3, A4, AP1, AP2, AP3, AP4 และ AP5 ไปไว้ในฮาร์ดดิสก์ c:\slack เมื่อใช้คำสั่ง dir ควรจะได้ผลลัพธ์ที่ คล้ายกันนี้

    C:\>dir c:\slack
    Directory of C:\SLACK
    . < DIR > 02-07-95 1:19p
    .. < DIR > 02-07-95 1:19p
    A1 < DIR > 02-07-95 1:19p
    A2 < DIR > 02-07-95 1:19p
    A3 < DIR > 02-07-95 1:19p
    A4 < DIR > 02-07-95 1:19p
    AP1 < DIR > 02-07-95 1:19p
    AP2 < DIR > 02-07-95 1:19p
    AP3 < DIR > 02-07-95 1:19p
    AP4 < DIR > 02-07-95 1:19p
    AP5 < DIR > 02-07-95 1:19p

    เมื่อทำการ copy เสร็จแล้วให้บูตเข้าระบบลีนุกซ์ โดยใช้แผ่น Boot และแผ่น root เข้าลอกอินด้วย root แล้วพิมพ์คำว่า setup เพื่อ เริ่มต้นทำการติดตั้งระบบ ในหัวข้อ source เราจะทำการเลือก

    "1. Install from a hard drive partition"

    ถ้าดอสพาร์ติชันของคุณเป็นพาร์ติชันแรกให้ใส่ '/dev/hda1' จากนั้นโปรแกรม จะถามไดเรกทอรีที่ใส่ชุดของ slackware ไว้ ให้เราใส่ /slack จากนั้นให้ข้ามไปหัวข้อต่อไป เพื่อจะทำการติดตั้งต่อ

    ถ้าคุณจะทำการติดตั้งผ่าน CD-ROM ให้เลือกหัวข้อ

    "5. Install from CD-ROM"


    เลือกชนิดของ CD-ROM จากหัวข้อเลือกที่โปรแกรมแสดงมาให้
    หมายเหตุ คุณจะทำการติดตั้งวิธีนี้ได้คุณจะต้องรู้ว่าลีนุกซ์สนับสนุน CD-ROM ของคุณซึ่งสามารถตรวจดูได้จาก Linux H/W Compatible Listing ด้านล่าง
  4. ขั้นนี้จะเป็นการทำการติดตั้ง swap partition ซึ่งลีนุกซ์จะใช้เป็นที่สำหรับ ทำ virtual memory เมื่อมันได้ใช้หน่วยความจำหลักหมดสิ้นแล้ว ให้ทำการเลือกหัวข้อ 'AddSwap' จากเมนู
  5. เป็นขั้นตอนในการเลือกพาร์ติชันเป้าหมายที่เราจะทำการติดตั้งระบบ
  6. ถ้าคุณต้องการให้ลีนุกซ์เห็นพาร์ติชันของดอส และทำการ mount เข้ามา
    ในตอนบูตระบบด้วยให้ทำดังต่อไปนี้
    การ mount พาร์ติชันของดอสเข้ามาในระบบไม่ได้หมายความว่า ระบบ จะทำการรันโปรแกรมของดอสได้ ระบบจะทำได้เพียงอ่านไฟล์ของดอส เท่านั้น ถ้าคุณต้องการให้ระบบรันโปรแกรมของดอสได้ ลองศึกษาโปรแกรม DosEmu (โปรแกรมดอสอีมูเลเตอร์) เพื่อทำตามจุดประสงค์นี้
  7. กด 'q' เพื่อทำการติดตั้งระบบต่อไป
  8. ให้คุณเลือกชุดของโปรแกรมที่จะทำการติดตั้ง โดยเลือกหัวข้อ 'Install' จากเมนู
เพื่อความประหยัด คุณควรจะทำการติดตั้งเคอร์เนลเพียงแบบเดียว โดยถ้าคุณ ต้องการเคอร์เนลมาตรฐานคุณสามารถเลือกได้ทั้งที่สนับสนุนอุปกรณ์แบบ IDE หรือ IDE+SCSI แต่ถ้าคุณต้องการอุปกรณ์พิเศษอื่นๆ ให้เลือกเคอร์เนลเพียง แบบเดียวจากแพคเกจชุด Q
คุณสามารถจะทำการติดตั้งแพคเกจมากเท่าใดก็ได้ Slackware จะทำการติดตั้ง ให้ทั้งหมด แต่ถ้าคุณเลือกเคอร์เนลมากกว่าหนึ่งแบบ เคอร์เนลที่คุณติดตั้งเป็นตัว สุดท้ายจะเป็นตัวที่ถูกเลือกให้ใช้ ในกรณีของ X windows ก็เช่นเดียวกัน เซอร์ฟเวอร์ตัวสุดท้ายที่เลือกก็จะเป็น ตัวที่ใช้งานเช่นกัน



ความต้องการทางด้านฮาร์ดแวร์ (HARDWARE COMPATABILITY)

(Note: * means support is experimental and not assured)
SYSTEMS:
386/486/Pentium PC Compatible with ISA,EISA,VESA or PCI bus architectures. (Microchannel Unsupported).

MEMORY:
Minimum 2 Megabytes (4 Megabytes recommended. 8 or more when using the X Window System).

DISKS:
IDE,Extended IDE, MFM,RLL,ESDI, SCSI (With one of the supported SCSI controllers listed below).

TAPES:
SCSI tape drives (with supported controller);
QIC-80 'floppy' tape drives: Colorado, Archive,
Insight, Identity, Connor, Summit, Wangtek, Iomega and AIWA.
Irwin-80 drives such as IBM's tape drive kit are unsupported.

CD-ROM:
Sony CDU-31a, CDU-33a,531*,535*,
Soundblaster CD-ROMS (including the Kotubuki,
Matsushita and Panasonic CR-5xx driver), Mitsumi,
Pro Audio Spectrum CD-ROMs,
SCSI CD-ROMs ( with supported SCSI controller),
NEC CDR-260*, wide variety of the common IDE style CDROM drives.

SOUND:
Roland MPU-401 MIDI interface; AdLib;
SoundBlaster (version 1 and 2) and compatibles, including ThunderBoard and ATI Stereo F/X; SoundBlaster Pro (version 1 and 2); SoundBlaster 16; ProAudioSpectrum 16 (and the compatible Logitech SoundMan 16);
Advanced Gravis UltraSound (GUS); GUS MAX (2.9 driver and later);
Microsoft Sound System (2.9 driver and later;disabled by default);
Personal Sound System (2.9 driver and later;disabled by default).

ACCELERATED VIDEO CHIPSETS:
8514/A (and true clones);
ATI Mach8, Mach32, Mach64;
Cirrus CLGD5420, CLGD5422, CLGD5424, CLGD5426, CLGD5428, CLGD5429, CLGD5430, CLGD5434, CLGD6205, CLGD6215, CLGD6225, CLGD6235;
S3 86C911, 86C924, 86C801, 86C805, 86C805i, 86C928, 86C864, 86C964;
Western Digital WD90C31, WD90C33;
Weitec P9000; IIT AGX-014, AGX-015, AGX-016;
Tseng ET4000/W32, ET4000/W32i, ET4000/W32p

SVGA CHIPSETS:
Tseng ET3000, ET4000AX, ET4000/W32;
Western Digital/Paradise PVGA1;
Western Digital WD90C00, WD90C10, WD90C11, WD90C24, WD90C30, WD90C31, WD90C33;
Genoa GVGA; Trident TVGA8800CS, TVGA8900B, TVGA8900C, TVGA8900CL, TVGA9000, TVGA9000i, TVGA9100B, TVGA9200CX, TVGA9320, TVGA9400CX, TVGA9420; ATI 18800, 18800-1, 28800-2, 28800-4, 28800-5, 28800-6, 68800-3, 68800-6, 68800AX, 68800LX, 88800; NCR 77C22, 77C22E, 77C22E+;
Cirrus Logic CLGD5420, CLGD5422, CLGD5424, CLGD5426, CLGD5428, CLGD5429, CLGD5430, CLGD5434, CLGD6205, CLGD6215, CLGD6225, CLGD6235, CLGD6420;
Compaq AVGA;
OAK OTI067, OTI077;
Advance Logic AL2101;
MX MX68000, MX680010;
Video 7/Headland Technologies HT216-32;
Diamond Viper cards are now supported.

SCSI ADAPTERS:
Adaptec 1520/1522/1542/1740, 274x/284x(*) ;
Always IN2000(*), NCR 53c810/820, 53c710/720, 53c700, 53c700-66, 5380 series;
Buslogic BT-542B, BT-545S, BT-545D, BT-445S, BT-640A, BT-646S, BT-646D, BT-742A, BT-747S, BT-747D, BT-757S, BT-757D, BT-946C;
Future Domain TMC-1660/1680, TMC-1650/1670, TMC-3260, TMC-885, TMC-950;
Pro Audio Spectrum SCSI;
Seagate ST01/ST02;
Trantor T128/T128F/T228;
UltraStor 14F, 24F, 34F;
Western Digital WD7000, WD7000-FASST2, WD7000-ASC, WD7000-AX, WD7000-MX, WD7000-EX; DPT PM2011(*), PM2012A(*), PM2021(*), PM2022(*), PM2122(*), PM2322(*)

PROTOCOLS:
TCP/IP, SLIP, CSLIP, PPP, AX25, IPX

ETHERNET CARDS:
Western Digital WD80*3;
SMC Ultra;
3com 3c501, 3c503, 3c509, 3c579;
AT1500 and NE2100 (LANCE and PCnet-ISA);
Cabletron E21xx;
DEPCA;
HP PCLAN;
NE2000;
NE1000;
SK_G16;
Apricot Xen-II on board ethernet;
D-Link DE600;
D-Link DE620;
AT-LAN-TEC/RealTek pocket adaptor;
Zenith Z-Note;
3com 3c505(*), 3c507(*);
EtherExpress;
AT1700(*), NI5210(*), NI6510(*);
Ansel Communications EISA 3200(*).

FILESYSTEMS:
Minix, Linux Native (EXT2), XIAFS, MSDOS, /proc, NFS, ISO9660, OS/2 HPFS (Read-only), UMSDOS, System V and Coherent.

ADDITIONAL:
Parallel Printer,Logitech Busmouse,PS/2 Mouse, C&T 82C710 mouse port ,Microsoft busmouse, ATIXL busmouse.

ที่ว่างบนฮาร์ดดิสก์
ประมาณ 80-100 Mb สำหรับระบบพื้นฐาน และ Development package มากกว่า 150 Mb สำหรับ Xwindows
การทำงานเป็นระบบปฏิบัติการด้วยตนเอง ไม่จำเป็นจะต้องใช้ DOS หรือระบบปฏิบัติการอื่นใด


HTML developed by Kaiwal Development Team (kaiwal@geocities.com)