Linux Distribution ที่ออกแบบมาสำหรับภาษาไทย หรือออกแบบมาให้ใช้งานกับภาษาไทยได้ สำหรับการกำหนดค่าภาษาไทยและการใช้แบบตัวอักษรภาษาไทยใน Distribution ต่าง ๆ สามารถ ดูได้ในหัวข้อต่อ ๆ ไปของเอกสารนี้ และสำหรับ X-Windows สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก เวบไซต์ http://www.linuxeasy.f2s.com ซึ่งจะมีคำอธิบายและรูปภาพประกอบสำหรับแต่ละ Distribution หลัก ๆ ด้วย
Linux-TLE (“ลินุกซ์ทะเล”) ชื่อเต็ม ๆ ของ Linux-TLE คือ Linux Thai Language Extensions Linux-TLE เดิมนั้นจะเป็น Linux Distribution ซึ่งได้รวม TE (Thai Extension) ไว้แล้ว เพื่อให้สามารถสนับ สนุนภาษาไทยได้ แต่ในรุ่นหลัง ๆ Linux-TLE จะถูกออกแบบมาเฉพาะสำหรับภาษาไทย ที่ออกแบบมาสำหรับ เดรื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop) เพื่อคนไทยโดยเฉพาะ ( ซึ่งก็คือ Linux-TLE 4.0 รุ่นล่าสุด ขณะเขียน HOWTO ฉบับนี้) Linux-TLE จะประกอบด้วยโปรแกรมมากมาย ที่สนับสนุนภาษาไทย และสามารถงานกับภาษาไทย ได้เกือบจะสมบูรณ์อีกด้วย
Linux-TLE ได้รับการพัฒนาโดยทีม Thai Linux Working Group โดยการสนับสนุนของ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค (NECTEC - National Electronics and Computer Technology Center)
Linux-TLE สามารภ ดาวโหลดได้ที่ ftp://ftp.nectec.or.th/pub/thailinux/iso/ สำหรับข้อมูลอื่น ๆ และ รายละเอียดของ Linux-TLE รวมทั้งข้อมูลการ Update สามารถติดตามได้ที่ Thai Linux Working Group : Linux-TLE
ZiiF Desktop Linux เป็น Distribution อีกตัวหนึ่งที่ออกแบบสำหรับคนไทย และใช้ภาษาไทยได้เช่นกัน ซึ่งพัฒนาโดย บริษัท Zion Interface จำกัด รุ่นล่าสุด (ขณะเขียน Howto ฉบับนี้) คือ ZiiF Desktop 7.0
รายละเอียดเพิ่มเติมดูที่ http://www.ziif.com/ ครับ
ZiiF Desktop 7.0 เป็นระบบปฏิบัติการ Linux สำหรับ Desktop เพื่อคนไทยเวอร์ชั่นใหม่ที่ยังคงเน้น การใช้งานภาษาไทยกับเอกสาร งานพิมพ์ งานกราฟิค Internet Application, Multimedia และเกมส์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเผยแพร่การใช้งาน Linux และ Open Source Software และเพื่อให้ Linux เป็นทางเลือกสำหรับนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ หาความรู้ทางด้าน Software อย่างถูกต้องในราคาที่ยอมรับได้
ไม่มีข้อมูลเลย !!! (แม้แต่ในเวบ) ข้อมูลของ Kaiwal Linux ดูได้จาก http:/www.kaiwalsoftware.com
ข้อมูลของ Burapha Linux ดูได้จาก http://alphabox.compsci.buu.ac.th/
Mandrake เป็น Linux distribution ยอดนิยมตัวหนึ่ง ซึ่งในรุ่นใหม่ ๆ คือ 8.1 สำหรับในรุ่นนี้ โปรแกรมสำหรับกำหนดค่าต่าง ๆ นั้นสามารภใช้ภาษาไทยได้ และ โปรแกรมสำหรับกำหนดค่าต่าง ๆ ก็มีออยู่พร้อมสรรพ อีกทั้งยังทำงานบน X-Windows สำหรับแบบตัวอักษรจะมีน้อย ก็อาจจะต้องเพิ่มด้วยตนเอง ซึ่งก็สามารถ คัดลอกแบบตัวอักษรมาจาก Microsoft Windows ได้โดยตรง (ถ้ามีลิขสิทธิ์ ถูกต้อง)
ข้อมูลเพิ่มเติมของ Mandrake Linux ดูได้จาก http://www.linux-mandrake.com สำหรับการกำหนดค่าภาษาไทยดูได้จาก
เดิม Thai Extension เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "สื่อไทย" (ZzzThai) เริ่มต้นโดยกลุ่มนักศึกษาไทยที่ University of Electro-communications (UEC) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีความพยายามที่จะใช้ภาษาไทยในหลาย ๆ computer platform โดยการพัฒนาโปรแกรม ส่วนขยายต่าง ๆ รวมถึงจัดทำเอกสารแนะแนวทาง และฟอนต์ให้แก่บุคคลทั่วไป โดยบุคคลเหล่านั้นยังสามารถแจกจ่ายโปรแกรม ฟอนต์ หรือส่วนประกอบใด ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไปได้ ซึ่งถือเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
Thai Extensions (TE เป็นส่วนเพิ่มเติมของ Linux เพื่อเพิ่มการสนับสนุนภาษาไทย ในส่วน console และ X Window ซึ่ง TE ตัวดั้งเดิม (TE-Jan22) นั้นถูกพัฒนาโดยคุณ พูลลาภ วีระธนาบุตร และ คุณ ไพศาล เตชะจารุวงศ์
ต่อมา Thai Linux Working Group จึงขอนำแนวทางของ Thai Extension มาใช้ โดยใช้ผลพลอยได้ จากการพัฒนา Linux-TLE ซึ่งได้รวบรวมโปรแกรม และ กำหนดค่าบางอย่าง แล้วทำเป็น แพคเกจ (package) และ รวบรวมไว้ สำหรับ Linux Distribution หลัก ๆ ที่ใช้กันกว้างขวาง ซึ่งยังไม่สามารถใช้ ภาษาไทยได้อย่างสมบูรณ์ เช่น RedHat Linux 7.x Mandrake 8.0 Debian และอื่น ๆ ซึ่ง TE เหล่านี้สามารถติดตั้งและใช้งานได้ัทันที แต่อาจจะมีรายละเอียดบางอย่าง ซึ่งต้องอาศัยการกำหนดค่า และแก้ไขเองอยู่บ้าง
สำหรับ Thai Extension สามารถ ดาวโหลดได้จาก ftp://ftp.nectec.or.th/pub/thailinux/software/TE ข้อมูลอื่น ๆ และ รายละเอียดของ TE รวมทั้งข้อมูลการ Update ติดตามได้ที่ Thai Linux Working Group : Thai Extensions
สำหรับการติดตั้ง ควรอ่าน ไฟล์ README หรือ INSTALL ก่อนลงมือติดตั้ง เพราะไฟล์ดังกล่าวจะบอกถึงวิธีการติดตั้งและการกำหนดค่าบางอย่างเอง ด้วย ซึ่งรายละเอียดเพิ่มเติมเช่นการกำหนดค่าของ Linux และ โปรแกรมต่าง ๆ สามารภดูได้จาก HOWTO ฉบับนี้ ซึ่งจะกล่าวต่อไป
TE นั้นไม่สามารถทำขึ้นสำหรับ Distribution ทุกตัวแน่นอน ถ้า Linux Distrubiton ที่เราใช้อยู่ ไม่มี TE ที่จัดทำขึ้นมาเฉพาะให้ เราอาจจะ ดาวโหลด โปรแกรมบางส่วน หรือ Source Code ของโปรแกรม และ ข้อมูล ไฟล์ต่าง ๆ จาก Thai Linux Working Group หรือเอามาจาก แพคเกจของ Distribution ที่ไกล้เคียง มาใช้ได้ แต่อาจต้องมีการแก้ไข (Hack) ตัวโปรแกรมบางส่วนเพื่อให้สามารถใช้งาน กับระบบของเราได้ และทำงาน Build ใหม่ ซึ่งก็ต้องอาศัยความรู้ความสามารถพอสมควร
อย่างไรก็ตามคุณก็สามารถถามผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ Linux และ TE ได้จาก Forum ของ Thai Linux Working Group และ Forum ของ ThailinuxCafe มีผู้เจน Linux หลายคนพร้อมจะให้ คำตอบเกี่ยวกับปัญหาของคุณนะครับ หรือมีข้อเสนอแนะอะไรก็ยินดีครับ ยิ่งถ้าคุณปรับ TE และทำเป็น แพคเกจมา และให้เราเผยแพร่ได้ยิ่งดี คนไทยอีกหลายล้านคนรอคุณอยู่ ตอนนี้คนทำมีแค่หยิบมืิอเดียวครับ
สำหรับ Thai Extension, Software ภาษาไทย ต่าง ๆ และ Source Code สามารถ ดาวโหลดได้จาก ftp://ftp.nectec.or.th/pub/thailinux/software สำหรับข้อมูลอื่น ๆ และ รายละเอียดของ TE รวมทั้งข้อมูลการ Update ติดตามได้ที่ Thai Linux Working Group : Thai Extensions
$Id: Thai-HOWTO-3.html,v 1.4 2002-03-05 17:12:49 sf_alpha Exp $