เริ่มต้นกับลินุกซ์
โดย
นายกำธร ไกรรักษ์
ทำไมจึงควรหันมาใช้ลินุกซ์
- ลินุกซ์เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส (หรือฟรีซอฟต์แวร์)
- เป็นระบบปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพสูง
- มีสเถียรภาพในการทำงานสูง
- มีความปลอดภัยสูง
- มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็ว
- ใช้งานได้ง่ายขึ้น มีโปรแกรมรองรับ หลากหลาย
- พัฒนาตามมาตรฐานเปิด ไม่มีการหมกเม็ด
- ปัจจุบันมีผู้พัฒนา และผู้ใช้จำนวนมาก ทั่วโลก บริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัท ให้การสนับสนุน
- มีต้นทุนต่ำ ไม่ต้องกังวลเรื่องลิขสิทธิ
- สามารถนำไปใช้ทำธุรกิจได้
ที่มาที่ไป
- ลินุกซ์ถูกพัฒนาขึ้นโดย Linus Torvalds ขณะเรียนอยู่ที่ University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์ ตั้งแต่ปี 1991 มีอาสาสมัครร่วมกันพัฒนาหลายคนจากทั่วโลก ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ลินุกซ์พัฒนาภายใต้ GNU public license สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ทั้ง source code และที่คอมไพล์เป็นไบนารีมาแล้ว
หลักปรัชญาของฟรีซอฟต์แวร์
- มีอิสระที่จะใช้ซอฟต์แวร์ เพื่อประโยชน์ใดๆ ก็ตาม
- มีอิสระที่จะเรียนรู้ว่าโปรแกรมทำงานอย่างไร และปรับแต่งได้ตามต้องการ
- มีอิสระที่จะก็อปปี้ซอฟต์แวร์ แล้วเอาไปแจกจ่าย หรือจำหน่าย
- มีอิสระที่จะปรับปรุงซอฟต์แวร์ แล้วเผยแพร่สู่สาธารณะ เพื่อประโยชน์ต่อสังคม
ดิสทริบิวชันต่างๆ ของลินุกซ์
เริ่มต้นติดตั้งลินุกซ์
- แผ่นซีดีลินุกซ์โดยทั่วไปจะบูตได้ ทำให้ติดตั้งสะดวกขึ้น
- ในขั้นตอนติดตั้ง จะมีขั้นตอนในการแบ่ง/สร้างพาร์ทิชัน ให้แก่ลินุกซ์ ซึ่งมี 2 ประเภทคือ Linux Native partition และ Linux Swap
- โดยทั่วไป การติดตั้งให้ใช้งานได้พอเหมาะ จะใช้เนื้อที่ราวๆ 1-2 GB
- การบูตระบบจะเริ่มด้วยบูตโหลดเดอร์ เดิมนิยมใช้ LILO ปัจจุบันมีอีกทางเลือกหนึ่งคือ GRUB ซึ่งยืดหยุ่นมากกว่า ทั้งสองตัวยอมให้บุตระบบปฏิบัติการอื่นๆ ได้ด้วย
เริ่มต้นใช้งาน
- เมื่อบูตระบบแล้ว จะต้องล็อกอินก่อน เพราะเป็นระบบมัลติยูเซอร์
- ผู้ใช้ที่มีสิทธิสูงสุด คือ root
- ในแต่ละเครื่อง ผู้ใช้แต่ละคนจะถูกควบคุมความสามารถในการใช้งานไฟล์ต่างๆ โดย permission ของไฟล์ โดยทั่วไป จะให้สิทธิเจ้าของไฟล์เต็มที่ แล้วให้สิทธิผู้อื่นน้อยกว่า หรือไม่ให้เลยก็ได้
- สามารถใช้งานได้ทั้งบน text mode และ graphics mode ทั้งจากหน้าเครื่อง (console) หรือจากเครื่องอื่น (remote) ก็ได้
- ในการใช้งานจริง root ไม่ควรล็อกอินใช้งานโดยตรง เนื่องจากเสี่ยงต่อความปลอดภัยของระบบ ควรล็อกอินใช้งานเป็นผู้ใช้ปกติ แล้วเมื่อต้องการทำงานเป็น root จึงใช้คำสั่ง su
- เมื่อใช้งานเสร็จ ควร logout ทุกครั้ง โดยพิมพ์คำสั่ง logout หรือ exit หรือกด ctrl-D
- เมื่อต้องการปิดเครื่อง ไม่ควรปิดทันที ให้สั่ง shutdown ก่อน เช่น shutdown -h now เพื่อปิดเครื่องในทันที
คำสั่ง Unix พื้นฐาน
- cat, cd, cp, dd, df, less, ln, locate, logout, ls, more, mv, pwd, shutdown, whereis
- Editor ที่ควรรู้จักและฝึกหัดใช้ให้คล่อง อย่างน้อย 1 ตัว เช่น emacs, vi, pico, jed, vim
ความรู้เรื่องอื่นๆ ที่ควรศึกษาเพิ่มเติม
- Linux Files and File Permission
- Linux Directory Structure
- การค้นหาไฟล์ (คำสั่ง locate, whereis, find, which)
- คำสั่งเกี่ยวกับเวลา (date, hwclock, timeconfig)
- Basic Device (/dev/fd0 /dev/hda1 /dev/hda2 /dev/hdb1 /dev/sda1 /dev/cdrom /dev/mouse /dev/hda /dev/hdb)
- การ mount file system อื่นๆ เข้ามาใช้งาน (mount -t vfat /dev/hda2 /mnt/win)
- การสร้างและจัดการกับ file system (fdisk, fdformat, fsck, mke2fs, mkswap, mount, swapon, swapoff, tune2fs, umount)
- การปรับแต่ง boot loader (LILO, GRUB), runlevel, init, Environment, Startup Script, Locale
- การปรับแต่งและคอมไพล์เคอร์เนล (lsmod, rmmod, depmod, modprobe, make menuconfig, make dep, make bzImage, make modules, make modules_install, make install)
- การจัดการ packages (rpm, dpkg,..)
- การจัดการการพิมพ์ โดยทั่วไปใช้ LPRng ร่วมกับ printtools
- การบริหารผู้ใช้ (adduser, chsh, chgrp, chown, nologin, passwd, su, useradd, userdel, usermod)
- การจัดการ process (kill, killall, nice, ps, renice, top)
- การจัดการ network (ifconfig, route, netstat, traceroute, nslookup, /etc/resolv.conf)
- การปรับแต่งและใช้ X Window (xf86config, startx, X)
- การปรับแต่งและใช้ server ต่างๆ บน linux เช่น httpd, ftpd, dhcpd, sendmail, ฯลฯ
เอกสารสำหรับค้นคว้าเพิ่มเติม