การติดตั้ง RedHat Linux 4.0 (Colgate)

ความต้องการของระบบในการติดตั้ง

ความต้องการขั้นต่ำ ระบบที่แนะนำ วิดีโอการ์ดที่สนับสนุนระบบกราฟฟิคของ XFree86 ซีดีรอมที่สามารถใช้งานได้

RedHat Linux 4.0 Quick install guide.

  1. การติดตั้งสามารถทำได้สองวิธีคือ ติดตั้งผ่านแผ่นดิสก์ หรือติดตั้งโดยใช้ซีดีรอมอย่างเดียว
    1. การติดตั้งโดยใช้แผ่นดิสก์จะต้องทำแผ่นบูตสำหรับทำการติดตั้งก่อน
      • ลอกอิมเมจไฟล์ของแผ่นบูตลงแผ่น
      • ใช้ rawrite.exe bootdisk.img
      • บูตระบบใหม่ โดยใส่แผ่นบูตดิสก์ที่ได้ทำไว้ในช่องอ่านแผ่นดิสก์ A คอมพิวเตอร์จะเริ่มทำการบูตระบบลีนุกซ์
    2. ถ้าติดตั้งโดยใช้ซีดีรอมอย่างเดียว ให้บูตระบบด้วยดอสและเมื่อใช้งานซีดีรอมได้ ให้เข้าไปที่ไดเรกทอรี dosutils และรันโปรแกรม autoboot ระบบจะเริ่มทำการบูตและเข้าสู่ระบบลีนุกซ์
  2. ระบบติดตั้งจะเริ่มทำงานและถามคำถาม ให้ตอบคำถามต่างๆ
  3. เมื่อติดตั้งเรียบร้อยระบบจะเริ่มบูตใหม่ และเพื่อทำการเริ่มระบบลีนุกซ์ที่เราได้ติดตั้งเสร็จแล้วนี้
  4. ให้ลอกอินเข้าระบบโดยป้อนชื่อผู้ใช้เป็น root และรหัสผ่านตามที่เราได้ป้อนไว้ในข้อ 3. การลอกอินเป็น root นี้จะมีสิทธิ์เป็นผู้ดูแลระบบ super user ซึ่งเราสามารถใช้งานและแก้ไขระบบได้ทั้งหมดถือว่าเป็นสิทธิ์สูงสุดในระบบ ทดลองพิมพ์คำสั่งต่างๆ เช่น ls, cd, pwd เป็นต้น หากต้องการใช้ระบบ X windows ให้พิมพ์คำว่า startx ระบบจะเริ่ม x windows ให้

การติดตั้งระบบโดยละเอียด

การสร้างแผ่นบูตภายใต้ดอส
สมมุติว่าระบบมองเห็นไดรฟ์ซีดีรอมเป็นไดรฟ์ d: ให้ใช้คำสั่งต่อไปนี้
	d:\dosutils\rawrite.exe	

โปรแกรมจะถามอิมเมจไฟล์ที่ต้องการ ให้ใส่ d:\diskimage\bootdisk.img เมื่อ ใส่ชื่อไฟล์แล้วโปรแกรมจะถามไดร์ฟที่ต้องการให้โปรแกรมทำการสร้างแผ่นบูต ถ้าหาก ดิสก์อยู่ในไดรฟ์ a: ให้ตอบชื่อไดรฟ์ A: โปรแกรมจะเริ่มต้นคัดลอกไฟล์เพื่อทำการ สร้างแผ่นบูต การติดตั้งนี้จะใช้แผ่นบูตนี้เพียงแผ่นเดียวเท่านั้น

การสร้างแผ่นบูตภายใต้ลีนุกซ์
ทำการเมาท์ซีดีรอมไปไว้ใต้ path /mnt/cdrom แล้วใช้คำสั่งต่อไปนี้
$ cd /mnt/cdrom/images
$ .mkfloppies.pl

สคริปต์นี้จะถามข้อมูลเกี่ยวกับระบบฮาร์ดแวร์และจะสร้างแผ่นบูตที่ใช้กับระบบ ได้ให้โดยอัตโนมัติ

การติดตั้งโดยไม่ใช้แผ่นบูต (ใช้ซีดีรอมอย่างเดียว)
ให้บูตระบบด้วยดอส และเปลี่ยนไดรฟ์เป็นไดรฟ์ซีดีรอม แล้วเปลี่ยน path เป็น d:\dosutils เรียกโปรแกรม autoboot.bat

ระบบจะเริ่มบูตเข้าสู่ลีนุกซ์ และเมื่อระบบเข้าสู่การติดตั้ง จะแสดงเป็นเมนูและ ไดอะลอกสำหรับการติดตั้ง

วิธีการใช้งานไดอะลอกของการติดตั้ง: การติดตั้งอย่างละเอียด
  1. ไดอะลอกการติดตั้งจะให้เลือกว่าต้องการติดตั้งโดยใช้จอสีหรือไม่ ให้เลือกแล้วกด Enter
  2. ขึ้น announcement ของการติดตั้ง ให้กด Enter ผ่านไป
  3. ขึ้นไดอะลอกถามว่ามีอุปกรณ์แบบ PCMCIA ให้เลือกแล้วกด Enter
  4. ถามแหล่งต้นฉบับที่จะใช้ในการติดตั้ง มีหัวข้อเลือกดังนี้ ให้เลือกแล้วกด Enter (ในที่นี้จะเลือกการติดตั้งผ่าน CD-ROM)
  5. จะให้เลือกชนิดของ CD-ROM มีหัวข้อคือ SCSI, IDE (ATAPI), Other ให้ทำการเลือกแล้วกด Enter
  6. โปรแกรมติดตัั้งจะถามชนิดของไดรว์เวอร์หรือการ์ดของซีดีรอมที่เลือกมาแล้วและจะทำการ autoprobe ให้ตอบ OK เพื่อให้ระบบติดตั้งทำการตรวจสอบชนิดของซีดีรอมไดร์ฟให้
  7. เมื่อโปรแกรมติดตั้งตรวจเจอซีดีรอมแล้วจะถามว่าจะทำการ upgrade หรือ install ให้เลือกแล้วกด Enter
  8. จะเข้ามาสู่หน้าจอการทำพาร์ติชั่น หากยังไม่ได้แบ่งพาร์ติชั่นจากดอสมาก่อน สามารถทำการแบ่งพาร์ติชั่นจากในลีนุกซ์ได้ โดยปกติแล้วจะต้องทำการแบ่งเป็น Linux native partition และ Linux swap drive โดยมี id ประจำตัวเป็น 82 และ 83 ตามลำดับ (ให้แบ่ง swap มีขนาดเป็นสองเท่าของเมมโมรี)
  9. รายละเอียดของการใช้งาน fdisk
    คุณสามารถทำการจัดพาร์ติชันใหม่ได้โดยใช้คำสั่ง
            fdisk 
    
    โดย drive จะมีชื่อดังต่อไปนี้ ด้งนั้นคุณสามารถแทนคำว่า drive ด้วยรายชื่อดังกล่าว
    ตัวอย่างเมื่อจะทำการจัดพาร์ติชันของ IDE ฮาร์ดดิสก์ตัวที่หนึ่ง (ที่ระบบ ส่วนใหญ่ใช้)
            fdisk /dev/hda
    
    สำหรับการแบ่งพาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์แต่ละตัวนั้น จะมีหมายเลขพาร์ติชันต่อท้าย ชื่อของฮาร์ดดิสก์ ตัวอย่างเช่น

    ในตอนแรกคุณควรตรวจดูพาร์ติชันในฮาร์ดดิสก์ของคุณโดยใช้คำสั่ง 'p' (ใช้คำสั่ง 'm' ถ้าต้องการให้แสดงข้อความช่วยเหลือ) ถ้าตอนแรกคุณแบ่งเป็น DOS/WINDOWS พาร์ติชันเดียว (ตามข้างบน) โปรแกรมควรจะแสดงข้อความออกมาในลักษณะนี้

    Command (m for help):p
    Disk /dev/hd: 16 heads, 38 sectors, 683 cylinders
    Units=cylinders of 608*512 bytes
        Device Boot Begin Start End Blocks ID System
    /dev/hda1   *    1       1  203 61693  6  DOS 16-bit>=32M
    
    Command (m for help):
    
    ให้คุณทำการสร้างพาร์ติชันสำหรับระบบและสแวป เพิ่มโดยใช้คำสั่ง 'n' ดังนี้
    Command (m for help):n
    Command action
        e extended
        p primary partition (1-4)
    p                                               <-- สั่ง p เพื่อเลือก
                                                        primary
    Partition number(1-4): 2                        <-- partition ที่ 2
    First cylinder(204-683): 204                    <-- ใส่หมายเลข cylinder
    Last cylinder or +size of +sizeM or +sizeK(204-683): +80M
    
    จากนั้นก็สร้าง swap แบบเดียวกัน แต่เปลี่ยนหมายเลขลำดับที่ของพาร์ติชันเป็น 3 เมื่อสั่ง 'p' ดูพาร์ติชั่น ควรได้ข้อความดังนี้
    Command (m for help):p
    Disk /dev/hd: 16 heads, 38 sectors, 683 cylinders
    Units=cylinders of 608*512 bytes
        Device Boot Begin Start End Blocks ID System
    /dev/hda1   *     1       1  203 61693  6  DOS 16-bit>=32M   <-- Partition แรก
    /dev/hda2       204     204  473 82080 83  Linux native      <-- Partition สอง
    /dev/hda3       474     474  507 10336 83  Linux native      <-- Partition สาม
    
    Command (m for help):
    
    คุณสามารถจะเปลี่ยน type ของพาร์ติชั่นที่สามให้เป็น swap ได้ โดยการสั่ง 't' ดังนี้
    Command (m for help):t
    Partition numer(1-4):3
    Hex code (type L to List codes):82
    
    พาร์ติชั่นที่สามจะถูกเปลี่ยน type เป็น swap

    สามารถสั่ง 'l' ถ้าต้องการดูรหัสของพาร์ติชันแบบอื่นๆ เช่นรหัส db จะเป็นรหัสพาร์ติชันของ CP/M, รหัส 64-65 จะเป็นรหัส ของ Novell Netware เมื่อทำการจัดพาร์ติชั่นเสร็จแล้วให้สั่ง 'w' เพื่อทำการบันทึก ข้อมูลลงไปในฮาร์ดดิสก์และออกจากโปรแกรมโดยใช้คำสั่ง 'q'

    คำสั่งข้างล่างนี้ในช่วงติดตั้งระบบ ยังไม่ต้องทำโปรแกรมติดตั้งจะทำให้โดยอัตโนมัติ จากนั้นคุณก็สามารถสั่งให้ลีนุกซ์เตรียมเนื้อที่สำหรับ swap โดยใช้คำสั่ง
            mkswap -c  
    
    จากตัวอย่างข้างบน สามารถสั่งได้ดังนี้
            mkswap -c /dev/hda3 10336
    
    จากนั้นก็ทำให้ระบบสามารถใช้เนื่อที่ swap ได้โดยใช้คำสั่ง
            swapon 
    
    ตัวอย่าง
    $ swapon /dev/hda3
    
    คราวนี้คุณก็สามารถใช้พื้นที่มากกว่า 10 Mb เป็นพื้นที่สแวปของ เวอร์ชวลเมโมรีได้แล้ว

    คุณอาจจะไม่จำเป็นจะต้องใช้สแวปก็ได้ถ้าคุณมั่นใจว่า เมมโมรีของคุณ มากพอและไม่ใช้ X-windows
    มาถึงตอนนี้คุณก็สามารถที่จะติดตั้งแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ที่จำเป็นลงในฮาร์ดดิสก์ ได้แล้ว

  10. ถามพาร์ติชั่นที่ใช้เป็น swap ให้กดคีย์ spacebar เพื่อเลือก toggle พาร์ติชั่นที่ต้องการ แล้วกด Enter
  11. ถามพาร์ติชั่นที่ต้องการใช้เป็น root (พาร์ติชั่นหลัก) ให้เลือกแล้วกด Enter
  12. ถามพาร์ติชั่นอื่นที่จะทำการ mount ขึ้นมาเพิ่มเติม (เช่น dosc) ให้เลือกแล้วกด Enter
  13. โปรแกรมติดตั้งจะถามและให้ทำการยืนยันเพื่อทำการฟอร์แมตพาร์ติชั่น กดคีย์ spacebar เพื่อเลือกพาร์ติชั่นที่ต้้องการ แล้วกด Enter
  14. เมื่อทำการจัดการแบ่งและฟอร์แมตพาร์ติชั่นต่างๆเสร็จเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมติดตั้งจะให้เลือก component และ software ที่ต้้องการจะติดตั้งลงไปในระบบ ถ้าต้องการเลือกรายละเอียดให้ทำการเลือกหัวข้อตามต้องการ เมื่อเลือกเสร็จแล้วให้กด Enter
  15. โปรแกรมจะแจ้งให้ทราบว่าจะทำการแจ้ง component ที่จะติดตั้งลงใน /tmp/install.log เพื่อทำการตรวจสอบภายหลัง หลังจากนี้โปรแกรมจะเริ่มทำการฟอร์แมตแต่ละพาร์ติชั่น (mkfs) และทำการติดตั้ง component ของ package ต่างๆลงสู่ระบบ
  16. ขั้นตอนต่อไปเป็นการติดตั้งระบบ X Window ด้วย
  17. ถามชนิดของ mouse (mouseconfig)
  18. เลือก video card และเลือกชนิดของ X server โดยปกติจะเป็น X server ที่ใช้กับ card ที่เลือกนี้ แต่โดยปกติแล้ว X server ชนิด SVGA จะใช้ได้กับการ์ดทุกชนิด
  19. เลือกการ config lan
  20. ใส่ IP
    ตัวอย่างการใส่ข้อมูลของค่าต่างๆสำหรับเนตเวอร์ก
    
       Parameter			Example
       ------------------------------------------------
       Hostname			daffy
       Domain Name			kaiwal.com
       FQDN				daffy.kaiwal.com
       IP Address			125.105.25.2
       Network Address		125.105.0.0
       Network Mask			255.255.0.0
       Broadcast Address		125.105.255.255
       Default Gateway		125.105.25.1
       Name Server			125.105.25.10
    
  21. เซตอัพระบบเวลา (timeconfig)
  22. เซตอัพชนิดคีย์บอร์ด (kbdconfig)
  23. ใส่รหัสผ่านของ root (super user)
  24. เซตอัพการติดตั้งระบบการจัดการการบูตของเครื่อง (loadlin)
  25. รีบูตเครื่อง เมื่อระบบทำการรีบูตแล้ว จะเข้าสู่ lilo prompt
  26. กด Enter เพื่อบูตระบบที่เป็น default (linux)
  27. กด tab เพื่อขอดูรายชื่อระบบปฏิบัติการที่สามารถบูตได้
  28. ใส่ชื่อระบบปฏิบัติการที่ต้องการจะให้ทำการบูต (เช่นพิมพ์ "dos" เพื่อให้ระบบบูตเข้าสู่ระบบดอส)
  29. เมื่อเข้าบูตเข้าสู่ระบบลีนุกซ์ ให้ login ด้วย root โดยใช้รหัสผ่านที่ได้ใส่ไว้ในขั้นตอนที่ 21 แล้วทดลองใช้งานระบบดู เช่นทดลองพิมพ์คำสั่ง 'ls -l' ซึ่งจะเป็นการแสดงรายละเอียดของไฟล์ที่ไดเรกทอรีปัจจุบัน (คล้ายกับคำสั่ง dir ของ DOS) ในขั้นตอนนี้จะเป็นการใช้งาน ในระบบ Text mode โดยเราสามารถจะสลับการใช้งานหน้าจอมากกว่าหนึ่งหน้าจอได้ (ทดลองกด Alt-F1, Alt-F2 จนถึง Alt-F7 ดู)


HTML developed by Kaiwal Development Team (kaiwal@geocities.com)