Next
Previous
Contents
จุดประสงค์ในการเขียนเอกสารฉบับนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยในระบบปฏิบัติการ Linux
และอธิบายวิธีการใช้ภาษาไทยกับ Linux distribution ที่เป็นภาษาอังกฤษ. ในที่นี้จะใช้ Linux RedHat 5.0
เป็นตัวอย่างประกอบ เพราะฉะนั้นสำหรับผู้ที่ใช้ Linux distribution อื่นๆเช่น Slackware
จึงมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนไดเรกทอรี่ที่อธิบายในเอกสารฉบับนี้ให้เหมาะสมกับ distribution นั้นๆ
ก่อนอื่นขออธิบายเกี่ยวกับรหัสอักษรภาษาไทยที่ใช้กับ Linux ก่อน. รหัสอักษรหรือ Charater set ที่ใช้ในที่นี้คือรหัส สมอ.
หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า TIS-620. นอกจากนี้ยังมีรหัสอักษรมาตรฐานอื่นๆเช่น ISO-IR-166,
CP874 ฯลฯ. ผู้อ่านสามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรฐานรหัสอักษรไทยได้ที่
http://www.inet.co.th/cyberclub/trin/thairef/รหัสสมอ.เป็นรหัสอักษรแบบ 8 บิทเช่นเดียวกับรหัส ISO-8859-1 ซึ่งเป็นรหัสอักษรลาติน.
เพราะฉะนั้นโปรแกรมที่สามารถใช้กับรหัสอักษร ISO-8859-1 จึงสามารถใช้ภาษาไทยได้ด้วย.
ถึงแม้ว่าเราจะสามารถใช้ภาษาไทยได้กับโปรแกรมเหล่านั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าโปรแกรมเหล่านั้นสร้างขึ้นสำหรับการใช้ภาษาไทย.
ภาษาไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะและแตกต่างจากภาษาอังกฤษหลายด้าน เช่น ตำแหน่งของตัวอักษรต่างๆ,
ไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เป็นต้น. ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้เป็นอุปสรรคในพัฒนาโปรแกรมภาษาไทย.
ผู้อ่านสามารถอ่านเอกสาร Thai-HOWTO ฉบับล่าสุดได้ที่
http://www.fedu.uec.ac.jp/ZzzThai/Linux และสามารถติชมเอกสารนี้ได้ที่ผู้เขียนโดยตรง
Next
Previous
Contents