ภัทระ เกียรติเสวี และ ทีมงาน Thai Linux Working Group
ประเด็นคือต้องการสร้างระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านซอฟต์แวร์ที่ฟรี รวมถึงบุคลากรและภาคธุรกิจที่สนับสนุน
ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่าศักยภาพด้าน IT (Information Technology) เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประเทศมีความสามารถที่จะแข่งขันกับนานาประเทศ ในการที่จะพัฒนาความสามารถในการแข่งขันในด้าน IT ของประเทศนั้น การมีเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์เป็นของประเทศเองเป็นสิ่งจำเป็น มิควรต้องพึ่งพาทุกอย่างจากประเทศอื่นตลอด อันจะนำให้เราเป็นได้เพียงผู้ใช้เทคโนโลยี ไม่อาจก้าวทัดเทียมประเทศเจ้าของเทคโนโลยี อีกทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก
ในการที่จะมีเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเองนั้น อาจจำแนกออกเป็นหลายๆ ประเด็น เช่น ศักยภาพในการสร้างคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (ความสามารถที่จะสร้าง ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์อย่างน้อยก็บางส่วนได้เอง ทั้งหมดคงเป็นไปได้ยาก), ศักยภาพในการสร้างคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ (การที่มีซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนฮาร์ดแวร์ที่มี ส่วนเกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยและลดการพึ่งพาและค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไปกับต่างประเทศ), ศักยภาพของบุคลากร และศักยภาพของภาคธุรกิจที่จะสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และบริการบนพื้นฐานของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ดังกล่าว ให้เกิดผลกับคนหมู่มาก และสร้างให้เกิดธุรกิจที่สามารถอย่างน้อยให้บริการแก่ความต้องการภายในประเทศ
โครงการลีนุกซ์เพื่อคนไทยนี้จะนำเสนอแนวทางที่จะพัฒนาเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ของไทย โดยเน้นพัฒนาศักยภาพของประเทศในด้านซอฟต์แวร์, บุคลากร และภาคธุรกิจ โดยใช้ประโยชน์จากแนวความคิดและผลิตผลของการพัฒนาแบบ Open Source และ ระบบปฏิบัติการ GNU/Linux กลุ่มเป้าหมายหลักของซอฟต์แวร์คือสำหรับเครื่อง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (ซึ่งนับเป็นชนิดของคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันมากที่สุดในประเทศ) เพื่อเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง สำหรับคนไทย นอกเหนือจากระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยมีระยะเวลาโครงการ 3 ปี
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 4 อย่างคือ
มีระบบสาธารณูปโภคทางด้านซอฟต์แวร์ขั้นพื้นฐาน สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับคนไทย และมีลิขสิทธิ์แบบเปิด ชาวไทยทุกคนสามารถ ใช้งานซอฟต์แวร์เหล่านี้ รวมถึงร่วมพัฒนา โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้านลิขสิทธิ์
สร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการใช้งาน และพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ในข้อ 2.1 ต่อไป
สร้างหรือสนับสนุนธุรกิจที่มีอยู่แล้ว ให้มีศักยภาพที่จะใช้งานผลิตผลในข้อ 2.1 และผลักดันให้เกิดการใช้งานกับผู้ใช้ คอมพิวเตอร์หมู่มาก
สร้างซอฟต์แวร์พื้นฐานเพื่อใช้ในการศึกษา ปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตสำนึกเรื่อง ลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ กระตุ้นให้มีการผลิตซอฟต์แวร์ฟรีในวงการศีกษามากขึ้น ลดการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฏหมาย
ในระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี ผลที่จะได้รับมีดังนี้คือ
ระบบสาธารณูปโภคทางด้านซอฟต์แวร์ขั้นพื้นฐานที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับคนไทย และลิขสิทธิ์เป็นแบบเปิด (Open Source compatible) อ้างอิงบนซอฟต์แวร์ Open Source และ GNU/Linux ที่มีใช้กันอยู่แล้ว อาทิ Thai Standard Libary, Thai Office Suite, Thai Dictionary/Spell Check
นอกจากนี้ ยังมีชุดซอฟต์แวร์สำเร็จรูป, หนังสือคู่มือการใช้งาน, บริการสนับสนุนแบบฟรี (ขยายพัฒนาเพิ่มต่อจาก http://linux.thai.net), บริการสนับสนุนระดับธุรกิจ (ร่วมกับภาคเอกชนในข้อ 3.3) และมีการติดตามและประเมินผลการนำไปใช้ และปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกๆ ปี
มีวิศวกรลีนุกซ์ที่มีความรู้ความสามารถระดับที่นำซอฟต์แวร์ใน ข้อ 3.1 ไปใช้ และพัฒนาให้เกิดผลงานได้อย่างน้อย 300 คน
มีผู้บริหารที่มีความเข้าใจในหลักการและเหตุผลของซอฟต์แวร์ในข้อ 3.1 อย่างน้อย 3,000 คน
ประชาชนคนไทยโดยรวมมีความตื่นตัวกับการเกิดขึ้นของซอฟต์แวร์ในข้อ 3.1 เพิ่มขึ้น มีการประเมินผลด้วย แบบสอบถาม ก่อนและหลังโครงการ (คุ้มค่าใช้จ่ายไหม?)
มีภาคเอกชนที่มีความสามารถที่จะนำซอฟต์แวร์ในข้อ 3.1 ไปใช้, ให้บริการคำปรึกษา ในระดับ commercial, สามารถสร้าง solution แก้ปัญหาตาม ความต้องการ โดยใช้ซอฟต์แวร์ ในข้อ 3.1 อย่างน้อย 2 บริษัท
มีภาคเอกชนที่จัดจำหน่ายระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยมีการติดตั้งซอฟต์แวร์ ในข้อ 3.1 แบบ pre-load อย่างน้อย 5 บริษัท โดยอาจใช้บริการขอคำปรึกษาจากบริษัท ในข้อ 3.1 (ดำเนินการโดยที่ประชาชนทั่วประเทศสามารถใช้บริการและซื้อผลิตภัณฑ์ ได้โดยสะดวก)
มีบุคลากรจากภาคการศึกษา มีส่วนร่วมในโครงการในข้อ 3.2.1 และ 3.2.2 ไม่ต่ำกว่า 30 %
ซอฟต์แวร์ต่างๆ รวมถึง Linux Distribution ทั้งหมดที่พัฒนาขึ้น กระทำโดยคำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยใน สถาบันการศึกษาเป็นข้อหลัก รวมถึงผลักดันให้เกิดการใช้งานในสถาบันการศึกษา ต้นแบบไม่ต่ำกว่า 6 สถาบัน ระดับอุดมศึกษาไม่ต่ำกว่า 4 สถาบัน และระดับโรงเรียนไม่ต่ำกว่า 2 สถาบัน
พัฒนาระบบซอฟต์แวร์บนพื้นฐาน GNU/Linux และ Open Source ซอฟต์แวร์ต่างๆ ให้สนับสนุนการใช้งานภาษาไทย รายละเอียดสามารถดู เพิ่มเติมได้ในเอกสารแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สามารถยกตัวอย่างผลงานที่เด่นชัด ดังนี้
พัฒนาต่อยอดจากโครงการ Linux-SIS ของ NECTEC ที่ทำอยู่
พัฒนาต่อยอดจากโครงการ Linux-TLE ของ NECTEC และ TLWG ที่ทำอยู่
ให้บริการผ่าน web site และโทรศัพท์ ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ Linux ทั้งหมด เป็น contact point สำหรับผู้สนใจจากทุกวงการ มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ ให้คนไทยทั้งประเทศรับรู้ถึงการเกิดขึ้นของโครงการ และรู้จัก Linux สร้าง Community
พัฒนาต่อยอดจาก Thai Linux Working Group และ Web sites เกี่ยวกับ Linux ต่างๆ ที่มีอยู่พอสมควรในประเทศไทย สร้างความร่วมมือ และกระจายงาน ไม่แย่งกันทำ
จัดอบรม 10 ครั้งๆ ละ 30 คน ผู้เข้าร่วมเป็นบุคคลทั่วไปที่สนใจจากทุกภาค (การศึกษา, เอกชน, รัฐบาล) มีการสอบวัดความรู้ ถ้ามีผู้สมัครเกิน ค่าใช้จ่าย อาจให้ผู้เข้าร่วมออกเอง หรือ ฟรี (เก็บค่ามัดจำ แต่คืน) แต่มีเงื่อนไขว่าเสร็จแล้ว ต้องช่วยสร้างผลงาน, ช่วยเหลือโรงเรียนตามที่ระบุ
จัด 10 ครั้งๆ ละ 300 คน ปูพื้นฐานเบื้องต้น สำหรับผู้บริหาร และผู้ทำงานในวงการอื่นๆ ให้รู้จักกับ Linux
ร่วมมือกับภาคเอกชน (อย่างน้อย 2 ราย แต่ไม่เกิน 5 ราย) มีการจัดอบรม และช่วยเหลือให้บริษัทสามารถนำซอฟต์แวร์ในข้อ 3.1 ไปใช้สร้างผลงานให้กับผู้บริโภคได้ โดยมีการจัดอบรมให้กับวิศวกรของบริษัท (ในโครงการ 4.2.2) และช่วยเหลือให้คำปรึกษากับบริษัท โดยมีเงื่อนไขว่า บริษัทจะต้องมีบริการให้กับลูกค้าเกิดขึ้น และบริษัทจะต้องรับให้คำปรึกษากับ บริษัทในโครงการ 4.3.2
ร่วมมือกับภาคเอกชน (อย่างน้อย 5 รายแต่ไม่เกิน 10 ราย) มีการจัดอบรม และช่วยเหลือให้บริษัทสามารถจัดจำหน่ายระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคล โดยที่มีระบบซอฟต์แวร์ในข้อ 2.1 ติดตั้งไปด้วย ตั้งแต่แรก และมีแผ่น CD Recovery ที่ผู้ใช้สามารถติดตั้งทุกอย่างใหม่ได้ทันทีกรณีที่เกิดความผิดพลาดขึ้น บริษัทในกลุ่มนี้ จะไปใช้บริการคำปรึกษาจากบริษัทในข้อ 4.3.1
รับทดสอบฮาร์ดแวร์ ให้กับบริษัทในข้อ 4.3.1 และ 4.3.2 และนำข้อมูลการทดสอบที่ได้ว่าใช้งานกับ Linux ได้หรือไม่ (ได้โดยสะดวก, ได้โดยไม่สะดวก, ไม่ได้) นำขึ้นเผยแพร่ในศูนย์ข้อมูลในข้อ 4.2.1
จัดอบรมพิเศษ, ผลักดันให้เกิดการใช้งาน และติดตามผลอย่างใกล้ชิด กับสถาบันการศึกษา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในข้อ 3.4
22 PCs + 3 Servers + Printer + Fax + Office Equipment
จัดกิจกรรม, สัมมนา, หนังสือ, CD, โฆษณาผ่านสื่อ
ค่าเช่า office, ค่าน้ำ, ไฟ, โทรศัพท์, บุคลากร
Worst case estimation อย่างน้อยบรรลุในข้อ 2.1 และ 2.2 เราจะมีซอฟต์แวร์ฟรีที่ใช้งานได้ ไว้ใช้ และมีบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจ
ผลพลอยได้ข้างเคียง
This document was generated using the LaTeX2HTML translator Version 2K.1beta (1.48)
Copyright © 1993, 1994, 1995, 1996,
Nikos Drakos,
Computer Based Learning Unit, University of Leeds.
Copyright © 1997, 1998, 1999,
Ross Moore,
Mathematics Department, Macquarie University, Sydney.
The command line arguments were:
latex2html -no_subdir -split 0 -show_section_numbers /tmp/lyx_tmpdir3485x1FW1l/lyx_tmpbuf3485ce2mWM/proposal.tex
The translation was initiated by Pattara Kiatisevi on 2001-09-05