Next Previous Contents

1. บทนำ

ช่วงนี้เป็นการแนะนำ TeX และ LaTeX อย่างคร่าวๆก่อนจะพูดถึงภาษาไทยกับ LaTeX ในช่วงถัดไป.

1.1 TeX

TeX เป็นโปรแกรมเรียงพิมพ์(typesetter)ซึ่งศาตราจารย์ Donald Knuth แห่งมหาวิทยาลัย Stanford เริ่มเขียนในราวปี ค.ศ.1977. เขาเขียนในหนังสือ The TeX book ซึ่งถือว่าเป็นไบเบิ้ลของ TeX ไว้ว่า "TeX [is] a new typesetting system intended for the creation of beautiful books - and especially for books that contain a lot of mathematics. By preparing a manuscript in TeX format, you will be telling a computer exactly how the manuscript is to be transformed into pages whose typographic quality is comparable to that of the world's finest printer."

สิ่งที่น่าสังเกตุคือ TeX เป็นโปรแกรมเรียงพิมพ์ ไม่ใช่ word-processor (WYSIWYG) ซึ่งทำให้ TeX และ LaTeX แตกต่างจาก word-processor อื่นเช่น Microsoft Word โดยสิ้นเชิง. ตัวอย่างโปรแกรมเรียงพิมพ์อื่นๆได้แก่ troff, groff เป็นต้น.

การเรียงพิมพ์ในสมัยก่อนใช้แบบตัวอักษรที่เป็นโลหะมาเรียงเป็นประโยค, เป็นหน้าและพิมพ์ลงกระดาษ. TeX ก็มีหลักการเช่นเดียวกันโดยการเขียนคำสั่งเรียงพิมพ์ลงในไฟล์ล่วงหน้า, แล้วใช้โปรแกรม tex เป็นตัวเรียงประโยค, เรียงหน้าและผลิตไฟล์ .dvi (device independent). ส่วนการพิมพ์ไม่ใช่หน้าที่ของ TeX. การพิมพ์เป็นหน้าที่ของโปรแกรมอื่นที่จะแปลงไฟล์ .dvi ให้เหมาะกับเครื่องพิมพ์หรือสื่อในการแสดงผลอื่นๆ. นั่นหมายความว่าไฟล์ .dvi เป็นไฟล์ที่ไม่ขึ้นกับอุปกรณ์การแสดงผลตามความหมายของ device independent นั่นเอง. ถ้าต้องการดูเอกสารทางจอของ X Window ก็ใช้โปรแกรม xdvi, ถ้าต้องการแสดงผล เป็น Postscript file ก็ใช้ dvips จากนั้นก็สามารถพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ได้.

1.2 LaTeX

LaTeX เป็นการรวมชุดคำสั่ง, นิยามคำสั่งของ TeX ใหม่และรวมเป็น package โดยนาย Leslie Lamport, ทำให้มีรูปแบบและใช้ง่ายขึ้นกว่า TeX ซึ่งจริงๆแล้วการใช้ LaTeX ก็คือการใช้ TeX ทางอ้อมนั่นเอง. ในขณะที่ ศาสตราจารย์ Knuth กล่าวไม่มีการพัฒนาโปรแกรม TeX อีกต่อไปแล้ว แต่การพัฒนา LaTeX ยังมีอยู่เรื่อยๆ. ในปัจจุบันมีการใช้ LaTeX กันอย่างกว้างขวาง ทุกแวดวงเช่น การใช้ LaTeX เขียนหนังสือหรือบทความทางวิชาการสาขาต่างๆ, การใช้ LaTeX เขียนโน็ตดนตรี เป็นต้น.

1.3 ทำไมต้อง LaTeX

หลังจากที่พูดถึง TeX กับ LaTeX พอควรแล้ว คราวนี้ก็จะพูดถึงเหตุผลที่ผู้อ่านน่าจะลองใช้ LaTeX.

เท่าที่ยกตัวอย่างมานี้ก็เป็นเหตุผลที่ผมยกขึ้นมาจูงใจผู้อ่านเท่านั้น จะเห็นด้วยหรือไม่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้อ่านเอง.


Next Previous Contents