Next Previous Contents

2. หลักการทำงานของ (La)TeX

2.1 หลักการทำงานโดยทั่วไป

LaTeX ใช้ไฟล์หลายชนิดจากหลายที่ในการทำงานและผลิตไฟล์หลายชนิดเช่นกัน

                       User input file(tex)   
                                |
                                V
                          =============
           Working files |             |<=== Format file(fmt)
                ========>|    LaTeX    |<=== Class and package file(cls,sty)
         aux   |         |             |<=== Font Metrics(tfm)
         idx   |         |============= <=== Font definitions(fd)
         toc    =========      |    |
         lof                   |    ===> Transcript file(lis,log)
         lot                   |                               
                               V
                     TeX output file (dvi)     
                               |
                /==================================\
                |           |        |             |  
           Postscript    Printer   Screen      Text file  

จากรูปข้างบน ผู้ใช้จะเป็นผู้เตรียม LaTeX file (.tex) โดยใช้ text editor ในการเขียน. หลังจากที่สั่งคำสั่ง latex แล้ว, โปรแกรมจะดึงไฟล์ต่างๆมาจาก texmf ไดเรกทอรี่ เช่น ไฟล์ที่บอกขนาดของตัวอักษร, แบบเอกสาร เพื่อใช้ในผลิตไฟล์ต่างๆ. ไฟล์ที่ผลิตโดย latex มีหลายไฟล์ เช่น .aux, .idx, .toc เป็นต้น แต่ไฟล์ที่สำคัญที่สุดคือ .dvi (device indent) ไฟล์ ซึ่งเราสามารถแปลงไฟล๎นี้เป็น format อื่นๆได้.

2.2 ไฟล์ต่างๆที่ LaTeX ใช้

        Explanation                            File extension
LaTeX input file                       .tex, .ltx
TeX formatted output file              .dvi
TeX transcript file                    .log, .texlog, .lis, .list
METAFONT sources file                  .mf
Font definition file                   .fd
Font image file                        .pk
Font metrics file                      .tfm
String pool file                       .pool, .poo, .pol
Format file                            .fmt
LaTeX layout & structure file          .clo, .cls, .dtx, .sty
LaTeX auxiliary file                   .aux
Table of contents file                 .toc
List of figures file                   .lof
List of tables file                    .lot
BibTeX related files                   .bbl, .bib, .blg, .bst
Index and MakeIndex related files      .idx, .ilg, .ind, .ist
ไฟล์เหล่านี้ส่วนใหญ่จะอยู่ใต้ไดเรกทอรี่พิเศษที่ชื่อว่า texmf. ในที่นี้จะอธิบายถึงไฟล์ที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับผู้ใช้เท่านั้น

Class file

class file(.cls) เป็นไฟล์ที่กำหนดลักษณะทั่วๆไปของเอกสาร. ลักษณะเอกสารหลักๆได้แก่ หนังสือ(book.cls), เอกสารรายงาน(report.cls), บทความ(article.cls) หรือจดหมาย(letter.cls). การเลือกลักษณะเอกสารทำได้โดยใช้คำสั่ง

\documentclass[a4paper]{article}
ในตัวอย่างเป็นการประกาศลักษณะเอกสารแบบบทความ และมีตัวเลือก (option) เป็นกระดาษขนาด a4.

package file

package file(.sty) เป็นตัวกำหนดรายละเอียดปลีกย่อยนอกเหนือจากการกำหนดลักษณะเอกสารซึ่งกำหนดโดย class file. สามารถกำหนดรายละเอียดปลีกย่อยได้ด้วยคำสั่ง

\usepackage{thai,graphics}
ในตัวอย่างเป็นการกำหนดรายละเอียด 2 อย่างด้วยประโยคเดียว คือให้เอกสารใช้ภาษาไทยและใส่รูปภาพประกอบได้.

แฟ้มข้อมูลสำหรับ LaTeX (LaTeX input file)

ในที่นี้ขอเรียก LaTeX input file ย่อๆว่า LaTeX file (.tex), เป็นไฟล์ที่ผู้ใช้ต้องสร้างโดยเขียนคำสั่งและเนื้อหาเอกสารลงในไฟล์นี้. โดยปรกติไฟล์นี้จะมีตัวขยายชื่อไฟล์ (extension) เป็น .tex แต่ถ้าเป็น LaTeX file ที่มีภาษาไทย, ควรจะใช้ตัวขยายเป็น .ttex

2.3 ฟอนต์ที่ใช้ใน (La)TeX

ฟอนต์ที่ (La)TeX ใช้มีหลายชนิดได้แก่

TFM (TeX Font Metric)

มีตัวขยายชื่อไฟล์เป็น .tfm, เป็นฟอนต์ที่ไม่มีรูปร่าง คือมีข้อมูลของขนาด, ความกว้าง, ความสูง, ตำแหน่งของตัวอักษรเท่านั้น. ไฟล์นี้จะใช้โดยโปรแกรม tex และ dvi driver (xdvi, dvips, ฯลฯ). สามารถผลิตได้จาก METAFONT ด้วยโปรแกรม pltotf. TFM ของภาษาไทยนั้นทำโดยการแปลงมาจาก AFM(Adobe Font Metric) ด้วยโปรแกรม afm2tfm. ฟอนต์ที่ใช้แสดงผลภาษาไทยคือฟอนต์ dbthaitext ซึ่งเป็นฟอนต์ที่เผยแพร่โดย Dear Book.

MF (MetaFont)

เป็นฟอนต์ที่ TeX ใช้ในยุคต้นๆ. เขียนโดยศาสตราจารย์ Knuth เองและมีหนังสือเกี่ยวกับ METAFONT เป็นชุด(series)ประกอบกับ The TeX Book อีกด้วย. เราสามารถสร้างฟอนต์ TFM และ GF(Glyph Font) ได้จาก MF.

GF (Glyph Font)

เป็นฟอนต์บิทแมป(bitmap)ใช้ในการแสดงผล. มีตัวขยายชื่อไฟล์เป็น .gf หรือ .gf แล้วตามด้วยค่า resolution.

PK (Packed Font)

สร้างจาก GF โดยการอัด(compress)ให้เล็กลงด้วยโปรแกรม gstopk. มีตัวขยายชื่อไฟล์ลักษณะเดียวกับ GF

AFM (Adobe Metric Font)

เป็นฟอนต์แบบ metric ที่ Postscript ใช้. สามารถแปลงเป็น TFM ได้ด้วยโปรแกรม afm2tfm.

Type1

เป็นฟอนต์ที่ Postscript ใช้เช่นกัน. มีตัวขยายชื่อไฟล์เป็น .pfa หรือ .pfb. .pfa เป็นไฟล์ที่อ่านได้ส่วน .pfb เป็นไบนารี่ไฟล์ (a = ascii, b = binary)


Next Previous Contents