การเตรียม LaTeX file สามารถใช้ text editor ธรรมดาในการเขียน เช่น vi, mule(emacs)
เป็นต้น.
(รายละเอียดการใช้ text editor เหล่านี้กับภาษาไทยสามารถอ่านได้จาก Thai-HOWTO)
LaTeX file ที่เขียนนี้ควรมีตัวขยายชื่อไฟล์เป็น .ttex
เพื่อที่จะส่งให้ cttex
แปลงเป็น .tex
ต่อไป.
text editor ที่คิดว่าเหมาะกับการใช้ภาษาไทยมากที่สุดในขณะนี้คือ mule
.
ผู้ใช้สามารถเรียก latex-mode ประกอบกับ font-lock-mode เพื่อช่วยเขียน LaTeX file ได้ง่ายขึ้น.
ในกรณีนี้จะมีเช็คไวยกรณ์และใช้สีแยกระหว่างคำสั่ง LaTeX กับเนื้อหาที่เขียนด้วย.
Lyx
คือเวิดท์โปรเซสเซอร์ชั้นสูงและเป็น frontend ของ LaTeX. ผู้อ่านสามารถเขียนเอกสาร LaTeX
ได้โดยไม่ต้องรู้คำสั่ง LaTeX เลย ซึ่งง่ายสำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้ LaTeX มาก่อน.
การแสดงผลทางหน้าจอที่ทำโดย lyx
เมื่อเทียบกับผลลัพธ์จาก LaTeX แล้วจะไม่ตรงกัน 100 เปอร์เซ็นต์.
ดังนั้น lyx
จึงถูกเรียกว่าเป็น "Quasi-WYSIWYG word processor".
การแสดงภาษาไทยใน lyx
สามารถทำได้โดยเลือกจากเมนูบาร์ Options|Screen Fonts
ซึ่งหมายถึงฟอนต์ที่ใช้แสดงบนหน้าจอเท่านั้น.
ฟอนต์ที่ใช้ในเอกสารจริงๆจะถูกกำหนดโดย LaTeX ภายหลัง.
ทำการเปลี่ยน Roman Font และ Sans Serif Font ให้เป็น -thai-dbthaitext
และเปลี่ยน Typewriter Font ให้เป็น -thai-fixed
.
เลือก LaTeX preamble จาก Layout เมนู. เขียน \usepacage{thai}
เพื่อบอกให้ LaTeX
ทราบว่าเราจะใช้ macro ที่ประกาศในไฟล๎ thai.sty
เนื่องจาก lyx
ไม่ได้ผลิตมาเพื่อใช้ภาษาไทยโดยเฉพาะ, เมื่อเขียนเอกสารแล้วให้ export
ไฟล์เป็น LaTeX ไฟล์ หลังจากนั้นส่งให้ cttex
และ latex
จัดการตามลำดับ.