บทความนี้ได้รับการปรับปรุงด้วยการสนทนากับผู้คนจำนวนมากที่ช่วยตรวจทาน ขอขอบคุณ Jeff Dutky <dutky@wam.umd.edu>
ซึ่งได้แนะนำคำสรุปที่ว่า ``การแก้บั๊กสามารถทำขนานกันได้'' และได้ช่วยวิเคราะห์ตามคำสรุปดังกล่าวด้วย ขอบคุณ Nancy Lebovitz <nancyl@universe.digex.net>
สำหรับคำแนะนำว่า ผมได้เลียนแบบเวนเบิร์กด้วยการอ้างคำพูดของโครพอตกิน มีคำวิจารณ์ที่ลึกซึ้งจาก Joan Eslinger <wombat@kilimanjaro.engr.sgi.com>
และ Marty Franz <marty@net-link.net>
จากเมลลิ่งลิสต์ General Technics นอกจากนี้ Glen Vandenburg <glv@vanderburg.org>
ยังได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการกลั่นกรองตัวเองของประชากรผู้สมทบ และแนะนำแนวคิดที่ช่วยให้เกิดผลอย่างมาก ว่างานพัฒนาปริมาณมากถือว่าเป็นการแก้ `บั๊กเนื่องจากสิ่งที่ขาดไป' Daniel Upper <upper@peak.org>
ได้แนะนำการเปรียบเทียบกับธรรมชาติของสิ่งนี้ ผมรู้สึกขอบคุณต่อสมาชิกของ PLUG หรือ Philadelphia Linux User's Group ที่ได้หาผู้ทดลองอ่านชุดแรกสำหรับบทความรุ่นแรก Paula Matuszek <matusp00@mh.us.sbphrd.com>
ได้ให้ความกระจ่างแก่ผมเกี่ยวกับวิธีการบริหารงานซอฟต์แวร์ Phil Hudson <phil.hudson@iname.com>
เตือนผมว่า การจัดโครงสร้างของวัฒนธรรมแฮ็กเกอร์ จะสะท้อนโครงสร้างของซอฟต์แวร์ และในทางกลับกันก็เป็นจริงด้วย John Buck <johnbuck@sea.ece.umassd.edu>
ชี้ว่า MATLAB ก็ให้ตัวอย่างที่เหมือนกับ Emacs และ Russell Johnston <russjj@mail.com>
ทำให้ผมได้สติเกี่ยวกับกลไกบางอย่างที่อภิปรายในหัวข้อ ``สายตากี่คู่ที่จะจัดการกับความซับซ้อนได้'' และท้ายที่สุด ความเห็นของ ไลนัส ทอร์วัลด์ เป็นประโยชน์มาก และการให้ความเห็นชอบของเขาตั้งแต่เนิ่นๆ นั้น ช่วยเป็นกำลังใจได้มาก