5. การใช้งานภาษาไทยบน X-Windows

สำหรับหัวข้อนี้จะอธิบายการกำหนดค่าภาษาไทยสำหรับ X-Windows รวมทั้งโปรแกรมบน Windows และ Desktop หรือ Windows Manager ต่าง ๆ และการติดตั้ง แบบตัวอักษร สำหรับ กำหนดค่าภาษาไทยและการใช้แบบตัวอักษรภาษาไทยใน Distribution หลัก ๆ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก เวบไซต์ http://www.linuxeasy.f2s.com ซึ่งจะมีคำอธิบายและรูปภาพประกอบสำหรับแต่ละ Distribution ด้วย

X Windows สนับสนุนการใช้้ แบบตัวอักษรหลายชนิด โดนเฉพาะรุ่นใหม่ ๆ นั้นสามารถใช้งาน แบบตัวอักษรที่เป็น True Type ไ้ด้ด้วย (ฟอนต์ที่ใช้บน Microsoft Windows) แต่อย่างไรก็ตามการใช้ภาษาไทยก็ยังทำได้ไม่ดีนัก เนื่องจากโปรแกรมต่าง ๆ บน X-Windows ยังใช้งานรหัสตัวอักษรภาษาไทย เช่น TIS-620 ไม่ได้

สำหรับ แบบตัวอักษรภาษาไทยสำหรับ ลีนุกซ์ สามารถ ดาวโหลดได้จาก http://ftp.nectec.or.th/pub/Thailinux/software/thaifonts และยังมี แบบตัวอักษรที่ทำเป็นแพคเกจแล้ว ซึ่งอยู่ใน TE (Thai Extenstion) สำหรับบาง distribution ด้วย ซึ่งเมื่อติดตั้งแล้ว อาจสามารถข้ามขั้นตอนการติดตั้ง และกำหนดค่าที่เหลือได้ (ดูข้อมูลใน Thai Extension)

สำหรับในขั้นแรก ต้องมีไฟล์รหัสอักษรของ tis-620-0 ก่อน โดย ไฟล์ดังกล่าว จะใช้ชื่อ iso-8859-11.enc แทน ซึ่งปกติจะอยู่ใน ไดเรกทอรี่ /usr/X11R6/lib/X11/fonts/encodings ถ้าไม่มีสามารถ ดาวโหลดได้จาก http://linux.thai.net/sf_alpha/thai-xfonts/ สำหรับ XFree86 ต่ำว่า 4.2.0 ต้องทำการ download ไฟล์ดังกล่าวไปแทนที่ไฟล์เดิม ด้วย เพราะจะมีปัญหาในสร้างรายการตัวอักษร ในภาษาไทย

เมื่อมีการติดตั้ง encoding เ้ข้าไปใหม่ ควรจะมีการ update ไฟล์ encoding.dir ส่วนกลาง ด้วย โดยเข้าไปในไดเรกทอรี่ /usr/X11R6/lib/X11/fonts/encodings แล้วใช้คำสั่ง mkfontdir -e /usr/X11R6/lib/X11/fonts/encodings เมื่อเรียบร้อยแล้วไฟล์ encodings.dir จะถูกสร้างใหม่ เพื่อใช้ในกรณีที่ไดเรกทอรี่ของ แบบตัวอักษร ไม่ได้กำหนด file encodings.dir ไว้ด้วย

[sf_alpha@benja /]# cp /mnt/floppy/*.enc /usr/X11R6/lib/X11/fonts/encodings
[sf_alpha@benja /]# cd /usr/X11R6/lib/X11/fonts/encodings
[sf_alpha@benja encodings]# mkfontdir -e /usr/X11R6/lib/X11/fonts/encodings
      

สำหรับ รหัสตัวอักษรสำหรับแบบตัวอักษรบน X-Windows จะมี 3 ตัวคือ tis-620-0, tis-620-1 และ tis-620-2 ซึ่ง tis-620-0 เป็น แบบตัวอักษร ตามมาตรฐาน TIS-620 ปกติ สำหรับ tis-620-1 เป็นฟอนต์ที่ใช้กับเครื่อง macintosh และ tis-620-2 ใช้สำหรับ Microsoft Windows เพื่อช่วยให้ Windows บางรุ่นซึ่งไม่ได้ออกแบบมา สำหรับภาษาไทยสามารถแสดง ภาษาไทยได้ (สวยงาม) สำหรับ ไฟล์รหัสตัวอักษรสำหรับฟอนต์ที้ใช้ tis-620-1 และ tis-620-2 สามารถดาวโหลดได้จาก เวบไซต์ด้านบนเช่นกัน

สำหรับแบบตัวอักษรชนิดต่าง ๆ มีวิธีการติดตั้งดังนี้

  • แบบตัวอักษรชนิด Bitmapped (pcf,bdf,...).  ให้เข้าไปในห้องที่เก็บ font แล้วใช้คำสั่ง mkfontdir <fontencodingir> เพื่อสร้างไฟล์ fonts.dir แล encodings.dir เช่น

    [sf_alpha@benja /]# cd /usr/share/X11/fonts/th/thai
    [sf_alpha@benja thai]# mkfontdir -e /usr/X11R6/lib/X11/fonts/encodings
            
  • แบบตัวอักษรชนิด Postscript Type 1.  ให้เข้าไปในห้องที่เก็บ font แล้วใช้คำส่ง type1inst ก่อ แล้วจึง mkfontdir <fontencodingir> เพื่อสร้างไฟล์ fonts.dir และ encodings.dir เช่น

    [sf_alpha@benja /]# cd /usr/share/X11/fonts/th/type1
    [sf_alpha@benja type1]# type1inst
    [sf_alpha@benja type1]# mkfontdir -e /usr/X11R6/lib/X11/fonts/encodings
           
  • แบบตัวอักษรชนิด True Type (TTF).  ถ้าต้องการใช้แบบตัวอักษร TrueType จำเป็นต้อง ให้เข้าไปในห้องที่เก็บ font แล้วใช้คำสั่ง เพื่อสร้าง encodings.dir สำหรับ ttmkfdir ก่อน แล้วตามด้วยคำสั่ง ttmkfdir -e /usr/X11R6/lib/X11/fonts/encodings/encodings.dir -o fonts.scale เพื่อสร้างรายการชื่อและขนาดของรูปแบบตัวอักษร TrueType แล้วจึงใช้คำสั่ง mkfontdir -e /usr/X11R6/lib/X11/fonts/encodings เพื่อสร้างไฟล์ fonts.dir เช่น

    [sf_alpha@benja /]# cd /usr/share/X11/fonts/th/TrueType
    [sf_alpha@benja TrueType]# ttmkfdir -e /usr/X11R6/lib/X11/fonts/encodings/encodings.dir \
                                        -o fonts.scale
    [sf_alpha@benja TrueType]# mkfontdir -e /usr/X11R6/lib/X11/fonts/encodings
           

    สำหรับ ttmkfdir ต้องเป็น Version 2 ขึ้นไป (ตรวจสอบได้โดยใช้คำสั่ง ttmkfdir --versions ) ซึ่งหาได้จาก package freetype ในรุ่นใหม่ ๆ สำหรับบาง Distribution ที่ใช้ ttmkfdir 1 จะไม่สามารถใช้ option -e ได้

    ถ้าลองใช้คำสั่ง ttmkfdir แล้ว ในไฟล์ fonts.scale ไม่มีรหัส TIS-620 อาจจะเกิดจากไฟล์ รหัสตัวอักษร (.enc) ที่ มีอยู่นั้นเป็นไฟล์ที่ไม่สมบูรณ์ (ใน XFree86 < 4.2.0) ให้ ดาวโหลดไฟล์ .enc มาใหม่จากเวบไซต์ด้านบน แล้วนำไปไว้แทนไฟล์เดิม ก่อน แล้วทำตาม ขั้นตอนการติดตั้ง แบบตัวอักษร TrueType ใหม่อีกครั้ง

สำหรับระบบที่ใช้ X Font Server ในไฟล์ /etc/X11/XF86Config-4 สำหรับ XFree86 4.x.x หรือ /etc/X11/XF86Config สำหรับ XFree86 3.x.x จะพบบรรทัด FontPath "UNIX:/7000" (ถ้าไม่มีให้ดู การกำหนดค่่าแบบตัวอักษร (Font) สำหรับระบบที่ ไม่ใ้ด้ใช้ X Font Server (XFS)) ถ้ามีให้แก้ไขไฟล์ /etc/X11/fs/config แล้วเพิ่ม ไดเรกทอรี่ของ แบบตัวอักษรที่เราใส่ไว้ เพิ่มเข้าไปหลังบรรทัด catalogue= (ขั้นด้วย ,) เช่น (ถ้ามี font แบบ unscale ต้องใส่ directory ที่มี :unscaled ต่อท้าย เพื่มไปด้วย)

catalogue=/usr/share/X11/fonts/default/misc,
          ...,
          ...,
          /usr/share/X11/fonts/th/misc:unscaled,
          /usr/share/X11/fonts/th/misc,
          /usr/share/X11/fonts/th/TrueType,
          /usr/share/X11/fonts/th/type1
    

ถ้าเป็น RedHat หรือ Mandrake (และอื่น ๆ ที่มี chkfontpath) อาจจะใช้ chkfontpath --add <FontDir> ในการเพิ่ม แบบตัวอักษร chkfontpath --remove <FontDir> ในการยกเลิกการใช้ แบบตัวอักษร ก็ได้

จากนั้น ให้ restart X Font Server ใหม่ สำหรับระบบที้ใช้ SysV ก็ใช้คำสั่ง /etc/rc.d/init.d/xfs restart (ในบาง distribution สามารถใช้ service xfs restart ได้)

ถ้ามีการใช้ FreeType ต้องทำการกำหนดค่า แบบตัวอักษร สำหรับ FreeType ด้วย ซึ่งจะกล่าวต่อไป

สำหรับระบบที่ไม่ใ้ด้ใช้ X Font Server (XFS) หลังจากเตรียม รูปแบบตัวอักษร เรียบร้อยแล้วเราสามารถทดลองใช้ Font ได้ทันทีถ้าอยู่บน X-Windows โดยการใช้คำสั่ง xset fp+ <FontDir> และ xset fp rehash โดย FontDir คือไดเรกทอรี่ที่เราใส่แบบตัวอักษร ในตอนแรก (หรืออาจจะใช้ `pwd` ถ้าอยู่ใน ไดเรกทอรี่ที่มี แบบตัวอักษรนั้้น ) เช่น

[sf_alpha@benja X11]# cd /usr/share/X11/fonts/th/TrueType
[sf_alpha@benja thaittf]# xset fp+ `pwd`
[sf_alpha@benja thaittf]# xset fp rehash
       

ในการกำหนดให้ X สามารถเรียกใช้งาน แบบตัวอักษรที่เพิ่มเข้าไป เมื่อเริ่มการทำงาน ให้เพิ่มบรรทัด FontPath "<FontDir>" ในไฟล์ /etc/X11/XF86Config-4 สำหรับ XFree86 4.x.x หรือ /etc/X11/XF86Config สำหรับ XFree86 3.x.x ใน Section "Files" เช่นดังตัวอย่าง

Section "Files"
...
FontPath  "..."
FontPath  "/usr/share/X11/fonts/th/TrueType"
FontPath  "/usr/share/X11/fonts/th/type1"
...
EndSection
    

ถ้ามีการใช้ FreeType ต้องทำการกำหนดค่า แบบตัวอักษร สำหรับ FreeType ด้วย ซึ่งจะกล่าวต่อไป

xkbmap ทำงานคล้ายกับ Keymaps ที่กล่าวมาแล้ว แต่มีความสามารถ กว่า Keymaps บน Console เพราะมีการแยกระหว่าง map ของภาษาต่าง ๆ และสามารถเปลี่ยนไปมาได้ xkbmap ของภาษาไทย ใน X11R6 เดิม มีเฉพาะที่ใช้ keysym ของ English และ Latin 1 ซึ่งก็ทำงานได้บน X

หลังจากนั้น Pablo Saratxaga <pablo@mandrakesoft.com> ได้สร้าง keysyms สำหรับภาษาไทยขึ้นสำหรับ XFree 4.0.1d แต่ก็ทำให้บางโปรแกรม ไม่สามารถพิมพ์ภาษาไทยได้ ตอนหลังจึงมีการใช้ keysym สำหรับ xkbmap ถึง 3 ตัว คือ TIS-620 และ อีก 2 ตัวข้างต้น และหลังจาก XFree 4.0.2 ก็มีการใช้ XIM ร่วมด้วย ทำให้สามารถตรวจสอบการพิมพ์ได้

ในการใช้งาน แป้นพิมพ์บน X-Windows เพื่อให้พิมพ์ภาษาไทยได้ใช้คำสั่ง setxkbmap th เพื่อเรียน ไฟล์ X-Keyboard Map ของภาษาไทย มาใช้งาน สำหรับปุ่มที่ใช้ใน การเปลี่ยนภาษาคือ

  • Alt-Left Shift สำหรับภาษาอังกฤษ
  • Alt-Right Shift สำหรับภาษาไทย

หมายเหตุ

สำหรับ Desktop Application บางตัวจะมีระบบจัดการ แป้นพิมพ์ของตัวเอง เช่น KDE ซึ่งให้ดูรายละเอียดของแต่ละ Desktop Application ด้านล่าง ครับ

ถ้าต้องการให้สามารถพิมพ์ภาษาไทยได้ทุกครั้งที่ใช้ X-Windows ให้แก้ไขบรรทัด Option "xkblayout" ... เป็น Option "xkblayout" "th" ในไฟล์ /etc/X11/XF86Config-4 สำหรับ XFree86 4.x.x หรือ /etc/X11/XF86Config สำหรับ XFree86 3.x.x ใน Section "InputDevice" เช่นดังตัวอย่าง

Section "InputDevice"
 ...
Option "XkbLayout" "th"
...
EndSection
     

ในบาง Desktop Environment เช่น KDE อาจจะมีระบบจัดการเกี่ยวกับ keyboard ของตัวเอง รายละเีอียดให้ดูในการกำหนดค่าของ Desktop Environment นั้น ๆ ด้วย (KDE ดูใน การกำหนดค่าภาษาไทยใน KDE)

อย่างไรก็ตามการตรวจสอบโดย XIM ทำได้บางโปรแกรมเท่านัน และยังไม่สมบูรณ์นัก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Input Method ของ X-Windows อ่านได้ที่ XFree86 Thai Supports : Input http://www.links.nectec.or.th/~thep/th-xwindow/index.htm#Input

ในการใช้โปรแกรม เทอร์มินัล (terminal) xiterm+thai หรือ txiterm สามารถเรียกใช้ได้จากคำสั่ง xiterm หรือ txiterm ในการเปลี่ยนภาษานั้นเหมือนที่กล่าวไว้ใน XKB แต่สามารถใช้ Ctrl-Space ในการเปลี่ยนภาษาได้ (แต่ XIM จะไม่ทำงาน)

พารามิเตอร์ต่าง ๆ และการเรียกใช้โปรแกรม txiterm จากบรรทัดคำสั่ง (Command Line)

xiterm [-tspace <n> ] [-tkb <kbmode> ] [-tim <immode> ]

Option ต่าง ๆ สำหรับ txiterm

  • -tspace <n> : จำนวน space สำหรับการชดเชยสระ ; <n> = จำนวน space
  • -tkb <kbmode> : รูปแบบแป้นพิมพ์ (Keyboard Layout) <kbmode> = tis|ked
    • tis - แบบ TIS-820 2538
    • ked - แบบเกษมณี (TIS-820 2536)
  • -tim <immode> : ระดับการตรวจสอบการพิมพ์ ; <immode> = PassThrough|BasicCheck|Strict
    • PassThrough - ไม่มีการตรวจสอบ
    • BasicCheck - ตรวจสอบเบื้องต้น
    • Strict - เข้มงวด

การกำหนดค่าของ X Resources ของ xiterm

แก้ไขไฟล์ ~/.Xresources หรือ ~/.Xdefaults แ้ล้วเพิ่มหรือแก้ไขบรรทัดต่อไปนี้

thai_space: 
                        <n>
                     
thai_keyboard: 
                        <kbmode>
                     
thai_im: 
                        <immode>
                     
cursorColor: 
                        <color>
                     
cursorColorThai: 
                        <color>
                     
                  

สำหรับ <cursorColor> คือ สีของ Cursor เมื่อใช้ภาษาอังกฤษ และ <cursorColorThai> คือ สีของ Cursor เมื่อใช้ภาษาไทย thai_space thai_keyboard และ thai_im ให้ดูที่ Option ของ txiterm ใน -tspace -tkb และ -tim ตามลำดับ (ด้านบน)

สำหรับ ข้อมูลเพิ่มเติม ดูใน xiterm man pages ...

สำหรับ Netscape และ Mozilla ควรใช้ Netscape 6.1 หรือ Mozilla 0.9.2 ขึ้นไป เพื่อสำหรับการใช้งานภาษาไทย ในการกำหนดค่าภาษาไทยที่จำเป็นสำหรับ Netscape และ Mozilla ให้เข้าไปที่ เมนู Edit->Preferences จากนั้นกำหนดค่าในส่วนต่าง ๆ ในแถบรูปแบบต้นไม้ด้านซ้าย ดังนี้ (หรือตามต้องการ)

  • Appearances

    • Fonts

      ในปุ่มเลือก Fonts For เลือก Thai จากนั้นเลือกฟอนต์ต่าง ๆ ตาม ที่ต้องการ ในช่อง serif, sans-serif, cursive, fantasy, monospace ซึ่งเป็นรูปแบบตัวอักษรมาตรฐาน

      สำหรับ Proportional Font (อาจไม่มีใน บาง version) ใช้ในการกำหนด รูปแบบตัวอักษรมาตรฐานที่จะใช้ในเอกสารที่ไม่กำหนดแบบตัวอักษร มาตรฐานที่จะใช้าให้ ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ นั้นดูที่ Help ครับ

  • Navigator

    • Languages

      ในปุ่มเลือก Default Character coding ให้ ในช่อง Character coding เลือก TIS-620 เพื่อให้ Navigator แสดงเอกสารโดยใช้รูปแบบตัวอักษร สำหรับ TIS-620 และรหัสตัวอักษร TIS-620 เป็นค่าปริยาย ถ้าเอกสารนั้น ไม่ระบบรหัสตัวอักษรที่ใช้

  • Mail & Newsgroups

    • Message Display

      ในปุ่มเลือก Character coding ให้ ในช่อง Language เลือก TIS-620 เพื่อให้ Mails & Newsgroups Reader แสดง จดหมาย โดยใช้รูปแบบตัวอักษรสำหรับ TIS-620 และใช้ รหัสตัวอักษร TIS-620 เป็นค่าปริยาย หากจดหมายนั้น ไม่ระบุรหัสตัวอักษรที่ใช้

    • Message Composition

      ในปุ่มเลือก Character coding ให้ ในช่อง Compose Messages เลือก TIS-620 เพื่อให้ Mails & Newsgroups Reader ส่ง จดหมาย โดยใช้รหัสตัวอักษร TIS-620

การเปลี่ยนรหัสตัวอักษรขณะอ่าน เวบไซต์ ข่าว หรือ จดหมาย สามารถเปลี่ยนได้จาก ให้ไปที่เมนู View -> Character coding และเลือกรหัสตัวอักษรที่ต้องการ สำหรับคำแนะนำเมื่ออ่านเอกสารหรือจดหมายไดไม่ออก ดูได้ที่ การเปลี่ยนรหัสตัวอักษรเมื่ออ่านข้อความไม่ออก สำหรับ Browser และ Mail & News Client ในการเขียนจดหมายหรือส่งข่าวบนกระดานข่าว สามารถเปลี่ยนรหัสตัวอักษรได้จากเมนู เดียวกันนี้เช่นกัน ส่วน รายละเอียดอื่น ๆ โปรดดูใน Help ของโปรแกรมครับ

คุณจะต้องตั้ง LYX ให้ใช้อักษรไทยก่อน สำหรับ ตั้งแต่ LYX 1.1.6 คุณสามารถทำได้โดยเข้าไปที่ Edit - > Preferences - > Look & Feel tab - > Screen Fonts tab และเลือก แบบตัวอักษรไทย สำหรับ Roman Sans Serif และ Typewriter และใช้แบบตัวอักษรที้มีรหัสตัวอักษร (Encoding) เป็น TIS-620

สำหรับการกำหนดค่าของ Lyx ในการใช้แป้นพิมพ์ ให้ไปที่ Edit - > Preferences - > Look & Feel tab - > Screen Fonts tab และเลือก Keyboard Map และกำหนด keymap สำหรับ 1st keymap ให้เป็น null และ 2nd keymap ให้เป็น thai-kedmanee จากนั้นให้แก้ไฟล์ ~/.lyx/preference แล้วเพิ่ม \bind "C-backslash" "keymap-toggle" เข้าไปเพื่อกำหนดให้ใช้ Ctrl-\ในการเปลี่ยภาษา

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ภาษาไืทนบน LyX ดูได้จาก LyX-Thai-MicroHOWTO (Thai) โดยคุณ ชนพ ศิลปอนันต์ <chanop@debian.org> และ LyX รุ่นใหม่ ๆ ที่ http://dynax.anu.edu.au/

การกำหนดค่าภาษาไทยสำหรับ KDE โดยทั้วไป ซึ่งต้องทำเป็นอักดับแรก มีขั้นตอนดังนี้

สำหรับ Gnome นั้น ระบบการรับข้อมูลจากแป้นพิมพ์ กำหนดได้จาก Xkbmap ปกติ (ด้านบน) ส่วนการแสดงผลอื่น ๆ ต้องกำหนดจาก Control Center

Abiword เป็น Word Processor สำหรับ Gnome ซึ่ง Abiword มีความสามารถสูง และยัง สามารถเปิดไฟล์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ รวมทั้ง Microsoft Word 7.0 ซึ่งใช้กันทั้วไปบน Microsoft Office สำหรับ Abiword ยังมีระบบจัดการแบบตัวอักษรของตัวเอง ซึ่งทำให้ ไม่จำเป็นต้องอาศัยการกำหนดภาษาไทยบน Gnome (ซึ่งยังไม่สนับสนุนระบบ i18n เ่ท่าไหร่) และ Abiword ในรุ่นใหม่ ๆ สามารถใช้ X Font Server ได้เช่นกัน สำหระบ Abiword ใช้ภาษาไทยได้ใน version 0.9.4 ขึ้นไปครับ

การติดตั้ง แบบตัวอักษรบน Abiword ทำได้ดังนี้ (ถ้าใช้ X-Font Server และกำหนดค่า FreeType (/etc/X11/Xftconfig) แล้วไม่จำเป็นต้องติดตั้งเพิ่ม)

  • หาไดเรกทอรี่ของ Abisuite ($ABISUITE_HOME) โดยใช้คำสั่ง grep "ABUSUITE_HOME" `which abiword`
  • ลิงค์ห้อง $ABISUITE_HOME/fonts/TIS620 กับห้องทีก็บ แบบตัวอักษร TrueType ของ X-Windows
  • ใช้คำสั่ง $ABISUIT_HOME/bin/ttfadmin.sh `pwd` TIS-620
เมื่อเตรียมแบบตัวอักษรแล้วให้ map workaround ใหม่ โดยเข้าไปที่ Tools > Preferences แล้วคล๊ก OK

จากนั้นต้องทำการแก้ไฟล์ ~/.AbiSuite/AbiWord.Profile แล้วเพิ่ม attribute RemapGlyphsMasterSwitch="0" ใน custom scheme เพื่อแก้ปัญหาการ map สำหรับ ตัวที่อยู่ ในระดับบนและล่าง

ถ้าเปิดเอกสาร หรือ จดหมาย ใดแล้วอ่านไม่ออก ให้ทำเปลี่ยนรหัสตัวอักษร โดยที่

  • ถ้าเป็นอักษรละติด ให้ลองหาเมนูสำหรับกำหนด Coding ถ้าเป็น Mozilla จะอยู่ใน View -> Character Coding ส่วน Konqueror อยู่ใน View -> Charset Encoding และเลือกเป็น Thai (TIS-620) เพื่อเปลี่ยนใช้ รหัส඀•ัวอักษรภาษาไทย เพราะบางเอกสาร อาจจะใช้รหัสเป็น Latin-1 (ISO-8859-1)
  • ถ้าเปิดแล้วเป็นอักษรภาษาไทย และมีลักษณะเต็มไปด้วย สระ เ (เอ) ทั่วเอกสาร ให้เปลี่ยน Character coding เป็น Unicode (UTF-8)

โปรแกรม Mozilla ในบางรุ่นจะมี เมนู View -> Character coding -> Customize ... สำหรับ นำรหัสตัวอักษรที่ใช้บ่อย ๆ มาไว้ใน View -> Character coding ได้ ก็ควรจะ เพิ่ม รหัสอักษร Thai (TIS-620) และ Unicode (UTF-8) ไว้เพื่อความสะดวกในการสลับรหัสตัวอักษรด้วย

$Id: Thai-HOWTO-5.html,v 1.4 2002-03-05 17:12:50 sf_alpha Exp $