สาเหตุของข้อขัดแย้ง

ในบรรดาข้อขัดแย้งในซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เราสามารถระบุเรื่องหลักๆ ได้สี่เรื่อง:

อย่างไรก็ดี ถ้าเรากลับไปพิจารณาเรื่อง ``อะไรคือสิ่งที่ถูกต้อง'' อีกครั้ง เรื่องนี้ก็อาจจะหายไป เพราะสำหรับคำถามเช่นนี้ จะมีวิธีตัดสินที่เป็นกลางและเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย หรือไม่ก็ไม่มีเลย ซึ่งถ้ามี เรื่องก็จบ ทุกคนได้ประโยชน์ แต่ถ้าไม่มี เรื่องก็กลายมาเป็น ``ใครคือผู้ตัดสิน?'' นั่นเอง

เมื่อเป็นเช่นนี้ ปัญหาสามข้อที่ทฤษฎีการยุติข้อขัดแย้งต้องแก้ในโครงการก็คือ (ก) ความรับผิดชอบในการตัดสินใจเรื่องการออกแบบตกอยู่ที่ใคร (ข) จะตัดสินอย่างไรว่าผู้ร่วมสมทบคนไหนได้เครดิตอย่างไร และ (ค) จะป้องกันกลุ่มโครงการไม่ให้เกิดการแยกตัวออกไปหลายแขนงอย่างไร

บทบาทของจารีตประเพณีเรื่องการถือครองในการยุติกรณี (ก) และ (ค) นั้นชัดเจน เพราะจารีตประเพณีให้การรับรองเจ้าของโครงการให้เป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับพันธกรณี เราได้สังเกตมาก่อนแล้วว่า จารีตประเพณียังได้ให้แรงกดดันต้านการสลายตัวจากการฟอร์กอีกด้วย

เรายังเรียนรู้ได้อีกจากการสังเกตว่าจารีตประเพณีเหล่านี้ยังใช้ได้ แม้จะละเลยผลของเกมแห่งชื่อเสียงแล้วตรวจสอบจากมุมมองแบบ `ช่างฝีมือ' ล้วนๆ เกี่ยวกับวัฒนธรรมแฮ็กเกอร์ ในมุมมองนี้ จารีตประเพณีให้แรงจูงใจต่อการแยกตัวน้อยกว่าการปกป้องสิทธิของช่างฝีมือที่จะทำตามวิสัยทัศน์ของตนในวิธีที่ตนเลือก

อย่างไรก็ดี คำอธิบายแบบช่างฝีมือก็ยังไม่เพียงพอที่จะอธิบายวัฒนธรรมแฮ็กเกอร์เกี่ยวกับข้อ (ข) ใครได้เครดิตในเรื่องไหน เพราะช่างฝีมือบริสุทธิ์ผู้ไม่สนใจเกมแห่งชื่อเสียง จะไม่มีแรงกระตุ้นให้มาสนใจเรื่องเครดิต การวิเคราะห์เรื่องนี้ จึงต้องคิดต่อจากทฤษฎีของล็อคไปอีกขั้น แล้วตรวจสอบข้อขัดแย้ง กับการทำงานของสิทธิในทรัพย์สิน ภายใน โครงการ และ ระหว่าง โครงการต่างๆ