ลงหลักปัญญาภูมิ

Eric Steven Raymond

นี่คือรุ่นที่ 3.0

สงวนลิขสิทธิ์

อนุญาตให้ทำสำเนา แจกจ่าย และ/หรือ แก้ไขเอกสารนี้ได้ ภายใต้เงื่อนไขของ Open Publication License รุ่น 2.0

$Date: 2008-10-03 10:04:13 $

บันทึกรุ่น
รุ่นที่ 1.2224 สิงหาคม 2543esr
ทฤษฎีการต่อแต้ม, นกยูง และกวาง. ความคล้ายคลึงกับความเป็นอัศวิน.
รุ่นที่ 1.2224 สิงหาคม 2543esr
แปลงเป็น DocBook 4.1.
รุ่นที่ 1.2131 สิงหาคม 2542esr
แก้ไขครั้งใหญ่เพื่อตีพิมพ์ในหนังสือของ O'Reilly. เพิ่มแนวคิดเกี่ยวกับต้นทุนของการฟอร์กและแพตช์เถื่อนจาก Michael Chastain. Thomas Gagne (tgagne@ix.netcom.com) ตั้งข้อสังเกตเรื่องความคล้ายระหว่าง "ผู้มีอาวุโสชนะ" กับเคล็ดของระบบฐานข้อมูล. การอุปมาอุปมัยกับการเมืองของ Henry Spencer. Ryan Waldron and El Howard (elhoward@hotmail.com) สมทบความคิดเกี่ยวกับคุณค่าของนวัตกรรม. Thomas Bryan (tbryan@arlut.utexas.edu) อธิบายความเอือมระอาของแฮ็กเกอร์ต่อนโยบาย ``เขมือบแล้วขยาย''. Darcy Horrocks ให้แรงบันดาลใจต่อหัวข้อใหม่ ``ของขวัญนั้นดีแค่ไหน?'' เนื้อหาใหม่เรื่องความเชื่อมโยงกับลำดับชั้นของคุณค่าของมาสโลว์ และข้อห้ามเรื่องการโจมตีความสามารถ.
รุ่นที่ 1.1421 พฤศจิกายน 2541esr
แก้ไขเล็กน้อย และแก้ลิงก์ที่เสีย.
รุ่นที่ 1.1011 กรกฎาคม 2541esr
ลบการอ้างถึงคำว่า `fame' ของ Fare Rideau ตามที่เขาแนะนำ.
รุ่นที่ 1.926 พฤษภาคม 2541esr
เพิ่มการแยกความแตกต่างระหว่าง noosphere/ergosphere ของ Faré Rideau. เพิ่มการแก้ต่างของ RMS ว่าเขาไม่ได้ต่อต้านการค้า. หัวข้อใหม่เรื่องการถ่ายทอดวัฒนธรรมและภาคการศึกษา (ขอบคุณ Ross J. Reedstrom, Eran Tromer, Allan McInnes, Mike Whitaker และคนอื่นๆ). เพิ่มเติมเกี่ยวกับความอ่อนน้อมถ่อมตน (`พฤติกรรมที่ไร้อัตตา') จาก Jerry Fass และ Marsh Ray.
รุ่นที่ 1.827 เมษายน 2541esr
เพิ่ม Goldhaber ในบรรณานุกรม. ฉบับนี้เป็นฉบับที่จะตีพิมพ์ใน proceedings ของงาน Linux Expo.
รุ่นที่ 1.716 เมษายน 2541esr
หัวข้อใหม่เรื่อง `นัยในภาพรวม' ถกเรื่องแนวโน้มการตั้งถิ่นฐานใน noosphere ที่ผ่านมา และตรวจสอบเรื่องปรากฏการณ์ `ผู้พิชิต'. เพิ่มคำถามเพื่อการค้นคว้าเพิ่มเติมอีกข้อ.
รุ่นที่ 1.312 เมษายน 2541esr
แก้ไขคำสะกดผิด และตอบคำวิจารณ์จากสาธารณชนรอบแรก. บรรณานุกรมสี่รายการแรก. ข้อสังเกตจากผู้ไม่ประสงค์จะเอ่ยนาม เกี่ยวกับการทำงานของแรงกระตุ้นจากชื่อเสียง แม้ตัวช่างฝีมือจะไม่รู้ตัว. เพิ่มการเปรียบเทียบกับ warez d00dz ที่น่าศึกษา, เนื้อหาเรื่องเงื่อนไข `ซอฟต์แวร์ควรบอกเอง', และข้อสังเกตเกี่ยวกับการเลี่ยงความนิยมตัวบุคคล. ผลของการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ ทำให้หัวข้อ `ปัญหาของอัตตา' ยาวขึ้น และถูกแบ่งเป็นหัวข้อย่อย.
รุ่นที่ 1.210 เมษายน 2541esr
เผยแพร่บนเว็บเป็นครั้งแรก.

บทคัดย่อ

หลังจากที่ได้สังเกตเห็นความขัดแย้งกันเอง ระหว่างอุดมการณ์อย่างเป็นทางการที่กำหนดโดยสัญญาอนุญาตโอเพนซอร์สต่างๆ กับพฤติกรรมที่ปรากฏจริงของแฮ็กเกอร์ทั้งหลาย ผู้เขียนจึงได้ตรวจสอบจารีตประเพณีในทางปฏิบัติ ที่คอยกำหนดกฎเกณฑ์กรรมสิทธิ์และอำนาจควบคุมของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทั้งหลาย ผู้เขียนจะแสดงให้เห็นว่า จารีตประเพณีเหล่านั้นบ่งบอกถึงทฤษฎีแห่งทรัพย์สินที่อยู่เบื้องหลัง ซึ่งละม้ายกับทฤษฎีสิทธิถือครองที่ดินของล็อค จากนั้น ผู้เขียนจะเชื่อมโยงเรื่องดังกล่าวเข้ากับการวิเคราะห์วัฒนธรรมแฮ็กเกอร์ ซึ่งเป็น `วัฒนธรรมแห่งการให้' (gift culture) ซึ่งสมาชิกจะแข่งขันเพื่อเกียรติยศ โดยอุทิศเวลา แรงกายแรงใจ และความคิดสร้างสรรค์ให้กับชุมชน และท้ายที่สุด ผู้เขียนจะตรวจสอบผลพวงของการวิเคราะห์นี้ ต่อการยุติข้อขัดแย้งในชุมชน และพัฒนาเป็นจารีตโดยนัย


สารบัญ

ความขัดแย้งในตัวเองในเบื้องต้น
อุดมการณ์ต่างๆ ของแฮ็กเกอร์
ทฤษฎีสำส่อน ปฏิบัติเคร่งครัด
กรรมสิทธิ์กับโอเพนซอร์ส
ล็อคกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน
แวดวงแฮ็กเกอร์ในฐานะวัฒนธรรมการให้
ความหรรษาแห่งการแฮ็ก
ด้านต่างๆ อันหลากหลายของชื่อเสียง
สิทธิถือครองและแรงกระตุ้นจากชื่อเสียง
ปัญหาของอัตตา
คุณค่าของความถ่อมตน
นัยในภาพรวมของโมเดลเกมแห่งชื่อเสียง
ของขวัญนั้นดีแค่ไหน?
ทรัพย์สินใน Noosphere กับพฤติกรรมการประกาศถิ่น
สาเหตุของข้อขัดแย้ง
โครงสร้างของโครงการและการถือครอง
ข้อขัดแย้งและวิธียุติข้อขัดแย้ง
กลไกการถ่ายทอดวัฒนธรรมและความเชื่อมโยงกับวงการการศึกษา
การให้ดีกว่าการแลกเปลี่ยน
ข้อสรุป: จากจารีตประเพณีสู่กฎจารีต
คำถามเพื่อการค้นคว้าเพิ่มเติม
เชิงอรรถ
บรรณานุกรม
กิตติกรรมประกาศ

ความขัดแย้งในตัวเองในเบื้องต้น

ใครก็ตาม ที่เฝ้ามองโลกที่ไม่หยุดนิ่งและอุดมผลของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในอินเทอร์เน็ตสักระยะหนึ่ง จะสังเกตได้ถึงความขัดแย้งในตัวเองที่น่าสนใจข้อหนึ่ง ระหว่างสิ่งที่แฮ็กเกอร์โอเพนซอร์สบอกว่าเชื่อ กับวิธีปฏิบัติที่เป็นจริง หรืออีกนัยหนึ่งคือ ระหว่างอุดมการณ์อย่างเป็นทางการของวัฒนธรรมโอเพนซอร์ส กับการปฏิบัติในความเป็นจริง

วัฒนธรรมเป็นกลไกที่ปรับตัวได้ วัฒนธรรมโอเพนซอร์สเอง ก็เป็นการสนองตอบต่อแรงขับเคลื่อนและแรงกดดันที่บ่งบอกได้จำนวนหนึ่ง ซึ่งการปรับตัวของมันไปตามสภาวการณ์ต่างๆ ก็มีทั้งจากอุดมการณ์ในจิตสำนึก และจากการเรียนรู้ที่สั่งสมกันมาแบบไม่รู้ตัว หรือไม่มีการเอ่ยถึง และก็ไม่แปลกอะไร ที่การปรับตัวแบบเป็นไปเอง จะขัดกับอุดมการณ์ในจิตสำนึกไปบ้าง

ในบทความนี้ ผู้เขียนจะเจาะหาต้นตอของความขัดแย้งในตัวเองดังกล่าว เพื่อใช้ค้นหาแรงขับเคลื่อนและแรงกดดันเหล่านั้น ผู้เขียนจะอนุมานต่อถึงประเด็นที่น่าสนใจจำนวนหนึ่งเกี่ยวกับวัฒนธรรมแฮ็กเกอร์และจารีตประเพณีของมัน จากนั้นจะสรุปด้วยการแนะนำหนทางที่จะทำให้การเรียนรู้ที่แฝงอยู่ในวัฒนธรรมนี้ที่ว่านั้น มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น